การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการใช้คำกริยานุเคราะห์ในภาษาจีนกลาง ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ (A Development of Knowledge and Understanding on Auxiliary Verb of Mandarin Chinese by Collaborative Learning Model)

ผู้แต่ง

  • ภูเทพ ประภากร (Puthep Prapagorn)

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ, คำกริยานุเคราะห์, การพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ความเข้าใจคำกริยานุเคราะห์ในภาษาจีนกลางก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักศึกษากลุ่มเป้าหมาย และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการการเรียนรู้แบบร่วมมือ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักศึกษาสาขาวิชาภาษาจีน  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี รวมทั้งสิ้น 23 คนที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหลักภาษาจีน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสอบถามวัดความพึงพอใจของนักศึกษา   ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ กระบวนการวิจัยและการเก็บรวบรวมข้อมูลยึดหลักวงจร P (วางแผน เตรียมการ) - A (ลงมือปฏิบัติ) – O (พัฒนา ติดตามผล) – R (ประเมินผล) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบการทดสอบหลังเรียนและก่อนเรียน โดยผลการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีคะแนนเฉลี่ย 21.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.56 ค่า t คำนวณได้เท่ากับ 16.41 แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้รูปแบบนี้ทำให้ผู้เรียนเข้าใจกฎเกณฑ์การใช้เรื่องคำกริยานุเคราะห์ได้ดีขึ้น
  2. ด้านความพึงพอใจของนักศึกษากลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 33 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 แสดงว่าการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือช่วยให้เกิดการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในการเรียนคำกริยานุเคราะห์ภาษาจีนได้เป็นอย่างดี

References

References
Chen, K. (2021). New Achievements and Pending Problems of Sino-Thai Cooperation in Chinese
Education. International Chinese Language Teaching Journal (ICLT) 1(1):22-28.
(in Chinese)
Chen, Y. (2009). The Analysis of Thai Students’ Error in learning Chinese Auxiliary Verb. Journal
of Language and Literature Studies 2009(3): 132-135. (in Chinese)
Huang, B., Liao, X. (2011). Xiandai Hanyu. 5th ed. Beijing:Higher Education Press. (in Chinese)
Huang, X. (2020). The Analysis of Thai Students’ Error in learning Chinese Auxiliary Verb.
Modern Society 2020(12):199-200. (in Chinese)
Khammanee, T. (2018). Science of Teaching Pedagogy: Knowledge for organizing effective
learning processes. 22nd ed. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
Kongseng, K. (2016). A Comparative Study on Structure and Usage of Verb in Chinese
and Thai Languages. Lampang Rajabhat University Journal 5(1): 1-12. (in Thai)
Liu, Y. (2001). Practical grammar of modern Chinese. Beijing: The Commercial Press.
(in Chinese)
Lu, F. (2013). Theories and Methods of Chinese Grammar Teaching. Beijing: Beijing University
Press. (in Chinese)
Lu, Y. (2003). An Analysis of the Mistakes of Affirmative Verbs in Teaching Chinese as
a Foreign Language. Master of Education Thesis Program in Tianjin Normal University.
(in Chinese)
Nantasukun, R. (2011). Classroom research and Research to improve teaching and learning.
Bangkok: Chut Thong. (in Thai)
Office of the Education Council. (2016). Research Report The Develop a management system
for teaching Chinese language at elementary school in Thailand. [Online]
Retrieved November 15, 2021, from http://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1516-
file.pdf. (in Thai)
Sisinthon, P. (2018). The Effects of Applying Cooperative Learning in Teaching Chinese as
a Foreign language: A case study of a Chinese Grammar course. Journal of Education
Khon Kaen university 41(4): 54-69. (in Thai)
ThawongKlang, S. (2015). A Comparative analysis on the grammatical of modals “Neng, Hui,
Keyi” in Mandarin and “DAI” in Thai. Chinese Studies Journal 1(1): 101-152. (in Thai)


Tang, L. (2015). The Analysis of Thai Students’ Error in learning Chinese Auxiliary Verb and
teaching suggestions. Journal of Language and Literature Studies 2015(3): 115-116.
(in Chinese)
Thitivesa, D. (2011). The effects of cooperative groups as communicative language teaching
techniques for teaching grammar to English major students in a Suan Sunandha
Rajabhat University. [Online] Retrieved November 30, 2021, from http://ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/492/1/060-54.pdf. (in Thai)
Zhang, H. (2015). An Analysis of “neng”and “keyi”on Chinese teaching for Thai sudents.
Excellent composition for high school Journal 2015(14): 99-100. (in Chinese)
Zhou, X. (2007). Research on the Errors of Foreigners in Learning Chinese Grammar. Beijing:
Beijing Language and Culture University Press. (in Chinese)

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย