การพัฒนาผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MARCE

ผู้แต่ง

  • บุณยานุช นุชสาย

คำสำคัญ:

ผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์/รูปแบบการเรียนการสอน MARCE

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่องสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนMARCE  2)ศึกษาความความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MARCE กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพระงาม (สามัคคีพิทยา) ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 32 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เรื่อง สถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MARCE โดยนักเรียนมีผลการเรียนรู้หลังจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน MARCE ในภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยมากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า นักเรียนเห็นด้วยมากเป็นอันดับแรกคือด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้รองลงมาคือด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และอันดับสุดท้าย คือ ด้านบรรยากาศในการเรียนรู้

The purposes of this research were1) to study of mathematics learning outcomes on statistics of the ninth grade students before and after being taught by MARCE Model 2) to study of

the ninth grade students’ opinions towards the instruction by MARCE Model. The sample consisted

of 32 students in ninth grade during the academic year 2012 of Tassaban 1 Watprangam

Samakkepittaya School.The results of the research were 1) the mathematics learning outcomes on statistics of ninth grade students after being taught by MARCE Model were higher than before the instruction were statistically significant at .05 level and 2) the students’ opinions towards the instruction with MARCE Model of ninth grade students overall were at a high level of agreement.On the aspects of learning usefulness, learning activities and learning environments were revealed at a high level of agreement respectively.

เผยแพร่แล้ว

2014-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย