แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาสำหรับนักเรียนนายร้อยวิถีใหม่

ผู้แต่ง

  • เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

สภาพแวดล้อมทางการศึกษา, นายเรียนนายร้อย, วิถีใหม่

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพแวดล้อมทางการศึกษาสำหรับนักเรียนนายร้อย 2) ศึกษาแนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาสำหรับนักเรียนนายร้อยวิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนนายร้อย โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 278 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดของวอลโทเนนและคณะเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาและ 2) การสนทนากลุ่มย่อย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

  1. การจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาสำหรับนักเรียนายร้อย โดยภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านการเรียนการสอน ด้านพื้นที่การเรียนรู้ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ตามลำดับ
  2. แนวทางการจัดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาสำหรับนักเรียนนายร้อยวิถีใหม่ พบว่า  1) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าควรดำเนินการตามมาตรการทางสาธารณสุข ดูแลปรับปรุงห้องเรียนและอาคารสถานที่ด้านความสะอาด คุณภาพและความทันสมัย 2) ให้การสนับสนุนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เครื่องมือสื่อสาร จุดเชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ฐานข้อมูลออนไลน์และโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อการเรียนการสอน และ 3) สนับสนุนให้อาจารย์จัดการเรียนรู้ในเนื้อหาเชิงสหวิทยาการ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผ่านการเรียนรู้เชิงรุกและแบบผสมผสาน ใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน อาจารย์ปรับบทบาทเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน การติดตามและประเมินผล ปรับชั่วโมงการสอนเป็นแบบ Module-Based Learning ปรับปริมาณเนื้อหาและบูรณาการเนื้อหาในศาสตร์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเวลาเรียนและยุคสมัย เน้นการปฏิบัติและการประยุกต์ใช้ เน้นการสร้างและพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และทักษะที่จำเป็นสำหรับอนาคต

References

Anyabuttra, S., et al. (2011). “A Study on Environment of the Royal Thai

Air Force Academies Preparatory School”. Journal of Graduate Studies Valaya Alongkorn Rajabhat University 6(1): 1-10. (in Thai)

Best, J. W., and Kahn, J. V. (2016). Research in Education. 10th ed. Massachusetts: Pearson

Education Inc., 2006.

Boujunaut, P. (2016). The Study of Public Administration Students toward Learning

Environmental Needs. College of Law and Government, Sisaket Rajabhat University. (in Thai)

Chaivijarn, S. (2018). “The Setting up of the Self-Directed Learning Spaces for Nakhon Si

Thammarat Rajabhat University’s Student”. Narkbhut Paritat Journal Nakhon Si

Thammarat Rajabhat University 10(1): 59-72. (in Thai)

Chudassring, R., et al. (2021). “The Satisfaction with the Management of Environment Conductive

to Learning in the Farm for Students in Agricultural and Environment Education Program”.

Journal of Education and Human Development Sciences 5(1): 121-25. (in Thai)

Closs, L., Mahat, M., and Imms, W. (2021). Learning Environments’ Influence on Students’

Learning Experience in an Australian Faculty of Business and Economics. Learning

Environment Research.

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of Psychological Tests. 4th ed. New York: Harper & Row

Publishers.

Insupan, R., et al. (2018). “Students’ Opinions toward Learning Environment in Faculty of

Education, Mahasarakham University”. Journal of Educational Administration and Supervisor, Mahasarakham University 9(2): 29-36. (in Thai)

Krejcie Robert, T., and Morgan Darlye, W. (1970). “Determining Sample Size for Research

Activities”. Educational and Pychological Measurement 30: 607-610.

La Rotta, D., Usuga, O. C., and Clavijo, V. (2020). “Perceived Service Quality Factors in Online

Higher Education”. Learning Environments Research 2: 251-267.

Nonsrimuang, N., and Phokha, A. (2015). “The Relationship between Educational Environment and

Learning Motivation of Students in Rajamangala University of Technology Isan, Kalasin Campus”. Nakhon Phanom University Journal 5(1): 63-70. (in Thai)

Pikultong, M. (2012). “The Learning Environment Management of the Educational and

Communication Technology Students”. Journal of Technical Education Rajamangala University of Technology Thanyaburi 1(1-2): 36- 42. (in Thai)

Pokavanit, P. (2016). Environmental Management Guidelines to Enhance Learning for

Inclusive Education in Primary Schools in Pathum Thani Province. Master of

Education Thesis Program in Educational Administration Graduate School Rajamangala

University of Technology Thanyaburi. (in Thai)

Rahayu, W., et al. (2021). Development and Validation of Online Classroom Learning

Environment Inventory (OCLEI): The Case of Indonesia During the COVID-19 Pandemic. Learning Environments Research. [Online]. Retrieve November 21, 2021, from https://doi.org/10.1007/s10984-021-09352-3.

Royal Thai Army. (2020). Operation Order No. 130/2563 on 24 March 2020. Regarding Standing

Operating Procedures During the Covid-19 Pandemic for Officers and Units. (in Thai)

Rudd, P., Reed, F., and Smith, P. (2008). The Effects of the School Environment on Young

People’s Attitudes towards Education and Learning. National Foundation for Educational Research 1-33.

Sithole, N. (2017). “Promoting a Positive Learning Environment: School Setting Investigation”

Master of Education Thesis Program in Specialization in Curriculum and Instructional Studies at University of South African.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย