การพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
คำสำคัญ:
แบบฝึก / การอ่านจับใจความ / ข้อมูลท้องถิ่นบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกการอ่านจับใจความ 2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกการอ่านจับใจความให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น และ 4) ประเมินผลการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความและความคิดเห็นของนักเรียนต่อแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาล 5 วัดศรีสำราญ อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลองรวมทั้งหมด 18 ชั่วโมง แบบแผนการทดลอง คือ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ 3) แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น และ 4) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่า ร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า1) นักเรียน ครู และปราชญ์ผู้รู้ในท้องถิ่น ต้องการให้แบบฝึกมีหลายรูปแบบ เนื้อหาน่าสนใจ เข้าใจง่าย เป็นเรื่องราวใกล้ตัวเด็กหรือข้อมูลท้องถิ่นซึ่งประกอบด้วย ชื่อแบบฝึก คำนำ ตัวชี้วัด คำชี้แจง บทอ่านข้อมูลท้องถิ่น แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน แบบฝึก2) แบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น มีเนื้อหา 7 เรื่อง คือ 1) ตำนานสองพี่น้อง 2) ข่าว ครูแจ้ง คล้ายสีทอง เสียชีวิตแล้ว 3) ข่าวเด็กนาฏศิลป์สุพรรณบุรีชนะเวทีพื้นบ้าน4) บทความปลาหมำ5) บทความเพลงอีแซว6) สารคดีเชิงท่องเที่ยววัดไผ่โรงวัว และ 7) สารคดีเชิงชีวประวัติ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ซึ่งแบบฝึกที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 81.81/82.70 3) การทดลองใช้แบบฝึก
การอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น นักเรียนมีความสนใจในการเรียนด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความโดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น นักเรียนให้ความร่วมมือในการปฏิบัติกิจกรรมมีความตั้งใจในการเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างมีความสุข4) ผลการเรียนรู้ด้านการอ่านจับใจความก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกการอ่านจับใจความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความคิดว่าแบบฝึกการอ่านจับใจความ ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ กระตือรือร้น และเกิดความสนุกสนานในการเรียน ช่วยให้รักและเข้าใจเรื่องราวในท้องถิ่น ช่วยให้อ่านและเขียนภาษาไทยได้ดีขึ้น
The purposes of this research were: 1) to study the fundamental data for the development of reading comprehension drill exercises 2) to develop and assess the efficiency of reading comprehension drill exercises to meet the selected efficient standard criterion of 80/80 3) to implement the reading comprehension drill exercises using local information and 4) to evaluate the learning outcomes of reading comprehension and the students’ opinions towards in reading comprehension drill exercises using local information. The sample consisted of 22 fourth grade students, Thetsaban 5 School Watsisamran, Songphinong District, Suphanburi Province. The experiment was conducted during the second semester of the academic year 2012 and within the duration of the implementation covered 18 hours. The research design was one group pretest-posttest design.
The research instruments were: 1) questionnaires 2)interview forms 3)reading comprehension drill exercises using local information and 4) reading comprehension learning outcomes test. The data were analyzed by percentage (%), mean ( ), standard deviation (S.D.), t-test dependent and content analysis. The results of this research were as follow: 1)The students, teachers and involved persons required the development of drill exercises with variety of formats, interesting contents and self-related contents of local information were consisted of preface, objectives, explanation of using the drill exercises, reading comprehension test and reading comprehension drill exercises. 2) Seven topics of reading comprehension drill exercises were consisted of legends recount, religion park, local products, inherit local song, national artist, second season market and queen singer. The efficiency of reading comprehension drill exercises met the criterion of 81.81/82.703) The implementation of reading comprehension drill exercises using local information. The students were interested in reading comprehension drill exercises using local information, participate in the activities, enthusiastic and happiness in learning.4)The students’ learning outcomes in reading comprehension were higher than before the instruction were statistically significant at .01 level. The students’ opinions toward the drill exercises revealed that the content of the drill exercises were interesting and understandable. The drill exercises could enhance their love and pride of their community.