การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ ของครูคณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

ผู้แต่ง

  • อรสา กุนศิลา

คำสำคัญ:

การนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน / ความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครูคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาความคิดเห็นของครูคณิตศาสตร์ที่มีต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน                3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-3  จากการสอนของครูที่ได้รับการนิเทศและการปฏิบัติตามกระบวนการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ครูคณิตศาสตร์  ระดับชั้นละ  2  คน  จำนวน 6 คน  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1-3  ระดับชั้นละ  2  ห้อง  จำนวน 6 ห้อง  จำนวน  237  คน  โรงเรียนคงทองวิทยา  อำเภอดอนตูม  จังหวัดนครปฐม  และศึกษานิเทศก์  จำนวน 1 คน  การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการในภาคเรียนที่  2              ปีการศึกษา  2555  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แผนการนิเทศ  แบบประเมิน  แบบสอบถาม  แบบทดสอบ   แบบสัมภาษณ์ และประเด็นการสนทนากลุ่ม   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%)   ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าที   (t-test) แบบ Dependent  และการวิเคราะห์เนื้อหา  (Content  Analysis)  ผลการวิจัยพบว่า  1) ความสามารถการจัดการเรียนรู้ของครูที่ได้รับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนสูงขึ้นในระดับมากทุกด้าน  2) ครูมีความคิดเห็นต่อการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อนอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนสูงขึ้นหลังจากการจัดการเรียนรู้ของครูที่ได้รับการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 

The purposes of this research were: 1) to develop Instructional capabilities of mathematics teachers, 2) to study the opinions of mathematics teachers towards peer coaching  3) to study the mathematics learning achievement of 7th-9th grade students. The sample was consisted of   6 mathematics teachers, 237 7th-9th grade students in Kongthong Wittaya School Don-Tum District, Nakhon Pathom, supervisor  who  participated  in  project  of  peer coaching,  semester 2, academic year 2012. The instruments used for this research were plans for supervision, evaluation forms, questionnaires, testing forms, interviewing forms and focus group. The statistics used for analysis were percentage (%) mean ( ) standard deviation (S.D.) t-test dependent and content analysis.

                     The result of the study was as follow:

                     1. The teachers’ Instructional capabilities who were supervised by peer coaching were at the high level.

                     2. The mathematics teachers had good opinions towards peer coaching at the highest level.

                     3. After the mathematics teachers participated in peer coaching, the 7th-9th grade students’ learning achievement were increased higher than before.

เผยแพร่แล้ว

2014-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย