การพัฒนารูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน
คำสำคัญ:
SQ4R/เครือข่ายสังคมออนไลน์/วัฒนธรรมการอ่านบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 38 คน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม มี 4 องค์ประกอบ ประกอบด้วย (1) ที่มาของรูปแบบ (2) การจัดกระบวนการเรียนการสอน (3) การนำรูปแบบไปใช้ และ (4) ผลที่เกิดจากการใช้รูปแบบ 2) นิสิตมีวัฒนธรรมการอ่านหลังเรียนด้วยรูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่าน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นิสิตมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนด้วยรูปแบบ SQ4R บนเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมการอ่านอยู่ในระดับมาก
The purpose of this research was: 1) construct and examining the quality of SQ4R Model on Online Social Network to the Reading Culture Promotion 2) to study the results of SQ4R Model on Online Social Network to the Reading Culture Promotion, and 3) to study the satisfaction of the students learning with of SQ4R Model on Online Social Network to the Reading Culture Promotion. The sample group consisted of 38 undergraduate students of Technology Education and Computer Education, the Faculty of Education, Naresuan University. The results were as follows: 1) A Development of SQ4R Model on Online Social Networks to the Reading Culture Promotion composed four parts were presented as follows: (1) Orientation of the Model (2) The Process of Learning Model (3) Application and (4) Instructional and Nurturant Effects. 2) The students had posttest of Culture Reading through SQ4R Model on Online Social Networks to the Reading Culture Promotion was higher than pretest at the 0.05 level of significant. 3) The students were very satisfied with learning from SQ4R Model on Online Social Networks to the Reading Culture Promotion.