การพัฒนาหลักสูตร เรื่องการอนุรักษ์พรรณไม้ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
พัฒนาหลักสูตร การอนุรักษ์พรรณไม้ในท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายทั่วไปเพื่อพัฒนาหลักสูตรเรื่องการอนุรักษ์พรรณไม้ในท้องถิ่น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุพรรณบุรี และมีจุดมุ่งหมายเฉพาะดังนี้ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร 2) พัฒนาหลักสูตรฉบับร่าง 3) ทดลองใช้หลักสูตร 4) ประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนอนุบาลบ้านท่าพระยาจักร อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบวัดทักษะการปฏิบัติ 5) แบบสอบถามความ พึงพอใจต่อหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและการทดสอบที
ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานศึกษาควรจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงอันก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่แท้จริง 2) หลักสูตรมีความสอดคล้องและเหมาะสมตามองค์ประกอบของหลักสูตร 3) นักเรียนมีความตั้งใจกระตือรือร้นในการร่วมกิจกรรม สามารถปฏิบัติกิจกรรมได้เป็นอย่างดี 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 ทักษะการปฏิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรในระดับมากที่สุด
This study aimed at developing a science curriculum on the Local Plants Conservation, for Prathomsuksa 6 students, Suphanburi Province. The specific purposes were to 1) collect the basic information 2) develop the curriculum 3) try out the curriculum 4) evaluate and improve the curriculum. The samples were 36 students studying in Prathomsuksa 6 at AnubanBanthaprayajuk school in academic year 2012. The instruments used to collect data were 1) an interview form 2)a questionnaire 3)an achievement test 4) a practical skills assessment 5) a measurement of satisfaction. The data were analyzed by descriptive statistics and t-test.
The results were: 1) the basic information showed that schools should provide education in accordant to local needs to allow students to learn from direct experience for true understanding. 2) the curriculum try out showed that all components were determined to be appropriate. 3) students had high intention and interests and were able to practice well with the activities. 4) the students had a higher achievement after learning, the overall practical skills and satisfaction were at the very high level.