การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดการเรียนรู้/ การกำกับตนเอง/ เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย  2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPAเพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย ขั้นตอนดำเนินการวิจัยมีดังนี้ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานในการสร้างรูปแบบจากเอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ         2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาปฐมวัย ด้านจิตวิทยา ครูที่ปฏิบัติการสอนในระดับชั้นปฐมวัย และผู้ปกครองในระดับชั้นปฐมวัย จำนวน 19 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติพื้นฐานค่าเฉลี่ย   ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                ผลการวิจัยมีดังนี้

                1.  ผลการสร้างรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การกระตุ้นความสนใจใคร่รู้ (S = Stimulus)  ขั้นตอนที่ 2 การสร้างวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ (S = Set up Objectives) ขั้นตอนที่ 3 การลงมือปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้  (A = Active Learning) ขั้นตอนที่ 4 การนำเสนอการเรียนรู้ (P = Presentation)  และขั้นตอนที่ 5 การประเมินผลการเรียนรู้ (A = Assessment) 

2. ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ SSAPA เพื่อพัฒนาการกำกับตนเองของเด็กปฐมวัย ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.20 – 4.80 

The purposes of this research were 1) to develop a SSAPA Instructional model to improve self–regulation of  young children. 2) to evaluate appropriateness of a SSAPA Instructional model to improve self–regulation of young children. The research methodology followed several procedures:  1) The SSAPA Instructional Model to improve self–regulation of young children was developed by studying and analyzing documents, textbooks and related research and, interviewing the experts. 2) The model was then evaluated by experts for its appropriateness. The participants were 19 experts including early childhood education experts, psychology experts, early childhood teachers and early childhood parents. The research tools consist of a documentary analysis form, a semi- structured interview form, and a questionnaire. The data were analyzed by using content analysis, means () and standard deviations (S.D.).

The research results revealed as follows:

1. The model comprised five learning stages: Stage 1: S (Stimulus), Stage 2: S (Set up Objectives), Stage 3 A: (Active Learning), Stage 4 P: (Presentation), and stage 5 A: (Assessment).

2. The appropriateness of the SSAPA Instructional Model according to the experts was at the high to highest levels with the mean () of 4.20-4.80.

เผยแพร่แล้ว

2014-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย