ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสองภาษา ก

ผู้แต่ง

  • เหว๋ย อู๋ สาขาวิชาบริหารการศึกษา วิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • วัลลภา เฉลิมวงศาเวช สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ปัจจัย แรงจูงใจ การเรียนรู้ภาษาจีน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสองภาษา ก และ 2) นำเสนอแนวทางการสร้างแรงจูงใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสองภาษา ก การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม ประชากร ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 โรงเรียนเอกชนสองภาษา ก จำนวน 130 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามสำหรับการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ความถี่  มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนโรงเรียนเอกชนสองภาษา ก ประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับชั้นเรียน ปัจจัยภายในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยภายนอกภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาจีน 9 แนวทาง ดังนี้ (1) มีการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงประโยชน์ของการเรียนภาษาจีนในอนาคต (2) ชี้ให้เห็นถึงความเข้าใจและความหมายของเนื้อหาในภาพยนตร์ และสื่อ (3) ชี้ให้เห็นถึงความเจริญ (4) สนับสนุนการแข่งขันการเรียนรู้  (5) สร้างสื่อให้มีความหลากหลาย และมีความทันสมัย (6) ให้ความสำคัญกับภาษาจีน (7) ชี้ให้ครอบครัวเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของภาษาจีน (8) ตำราเรียนภาษาจีนควรปรับให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และ (9) ปรับการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์ทั้งหมด

References

Berelson, B., and Steiner, G. A. (1964). Human Behavior: An Inventory of Scientific Findings.

Burr, R. K. (1981). Job Satisfaction Determinants for Selected Administrators in Florida's

Community Colleges and Universities: An Application of Herzberg's Motivator

Hygiene Theory. Dissertation Abstracts International, 41(9): 3794-A.

Herzberg. (1959). “Factors Related to Social Service Workers' Job Satisfaction: RevisitingHerzberg's Motivation to Work”. Administration in Social Work 37(2): 189-198.

Jintana, W. (2019). “Guidelines for Teaching and Learning Chinese Language at The UpperSecondary Level”. Veridian E-Journal, Silpakorn University 11(2): 1906-3431.

Knowles (1980). “Human Hepatocellular Carcinoma Cell Lines Secrete the Major Plasma

Proteins and Hepatitis B Surfacentigen”. Science 209(4455): 497-499.

Panudet, J. (2019). “The Condition of Teaching Chinese Language in Thailand”. Liberal ArtsJournal. Maejo University 1(2): 43-59 (in Thai)

Punyisa, T. (2018). Conditions and Factors Affecting The Motivation for Learning Chinese of Thai Students in China. Nakhon Nayok : University of Eastern Asia. (in Thai)

Spaulding, C. L. (1992). Interactive Effects of Computer Network and Student Characteristics on Students' Writing and Collaborating. Chicago: American Educational ResearchAssociation.

Suwan, L. (2013). “A Study of The State of Management of Chinese Language Teaching in

Schools Secondary School The End of Chiang Mai”. Liberal Arts Journal Maejo University (1)2 (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-29

ฉบับ

บท

บทความวิจัย