การเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะ (Coaching) เพื่อยกระดับศักยภาพการจัดการเรียนรู้ ของครูตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ทัศน์พล ชื่นจิตต์ สาขาวิชาเอกสังคมศึกษา ภาควิชาสังคมศึกษา คณะครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

คำสำคัญ:

Professional Learning Community / Coaching / The Border Patrol Police School

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและเหตุปัจจัยที่จำเป็นของการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย การเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะ เพื่อยกระดับศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตำรวจตระเวนชายแดน และการพัฒนาหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพครู โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการจัดอบรมพัฒนาครู จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ และคู่มือรูปแบบกระบวนการพัฒนาครู สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานได้นำข้อมูลมาสังเคราะห์และนำเสนอด้วยวิธีแบบบรรยายและพรรณนา 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดเชียงราย ประสบปัญหา 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนรู้ ด้านวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน ด้านการจัดการเรียนรู้ แบบบูรณาการ ด้านการพัฒนาสื่อเทคโนโลยี ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สำหรับเหตุปัจจัยที่จำเป็นของการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากรทางการศึกษา ด้านงบประมาณทางการศึกษา ด้านวัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา และด้านการบริหารจัดการที่ดีมีประสิทธิภาพ
  2. หลังจากการดำเนินการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ทำให้ครูมีสมรรถนะพื้นฐานด้านความรู้และด้านการปฏิบัติงานภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งครูเกิดทักษะการใช้กระบวนการชี้แนะอยู่ในระดับสูง และความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ อยู่ในระดับ ดีเยี่ยม
  3. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ชุมชนวิชาชีพครู โดยใช้กระบวนการชี้แนะ โดยใช้กระบวนการชี้แนะ เพื่อยกระดับศักยภาพการจัดการเรียนรู้ของครูตำรวจตระเวนชายแดนจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) ขั้นตอนการพัฒนาสมรรถนะ 4) การเสริมพลังอำนาจ 5) การประเมินผลของรูปแบบ 6) ปัจจัยที่ช่วยหนุนเสริมให้กระบวนการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้ โดยรูปแบบมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดตามมาตรฐาน 3 ด้าน ได้แก่ ความเป็นประโยชน์ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และสอดคล้องกับเป้าหมายจุดประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยพิจารณาจากค่าเฉลี่ยผลการประเมิน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Kiewkor, Sasitorn. (2005). A Development of the evaluation competency for elementary

school teachers: A comparison of training results between traditional and

school-based Training. Doctoral Dissertation of Ph.D. in Educational Research

Methodology. Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai)

Panich Vicharn. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century.

Bangkok: Sodsri Saritwong Foundation.10-20. (in Thai)

Pi-Jen Lin. (2007). “The Effect of a Mentoring Development Program on Mentors.”

Conceptualizing Mathematics Teaching and Mentoring. National Hsinchu University

Of Education, Taiwan: In Woo, J.H., Lew, H.C., Park, K.S. and Seo, D.Y. (Eds.)

Proceedings of the 31st Conference of the International Group for the Psychology

Of Mathematics Education 3, 201-208. Seoul: PME.

Rodjay and others. (2009) Analysis of factors affecting the efficiency of

small-sized schools. Doctoral Dissertation of Ph.D. in Educational Policy,Management,

and Leadership. Faculty of Education, Chulalongkorn University. (in Thai)

Silanoi Ladda, Malwee Aduliyawattanasiri and Teerachai Netthanomsak. (2013). Teaching and

consulting Coaching and Mentoring. Retrieved February 10, 2019, from the Department of Health Service Support.from.

Srisamrith. (2013). The Professional Development Model for Enhancing

Instructional Competency of Teachers to Encourage Science Process Skills

and Scientific Minds of Early Childhood. Doctoral Dissertation of Ph.D. in

Curriculum and Instruction, Graduate School, Silpakorn University. (in Thai)

Werathommo. (2012). School Based Research and Development Model for

Developing Teachers and Administrators in Small – Sized Schools in Songkhla

Province. Songkhla: Thaksin University. (in Thai)

Wisamittanun. (2006). Research and Development of Educational Supervision for

Small – Sized School Quality Improvement Using the DOS-SBM Model. Retrieved

January 2014 from http://thaimisc.pukpik.com/freewebboard/php/vreply.php?

user=pratom&topic=2481. (in Thai)

http://www.hss.moph.go.th/KM/upload_file/.../ladda.pdf. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-28

ฉบับ

บท

บทความวิจัย