การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนที่มีต่อการเรียนงานประดิษฐ์ในยุคชีวิตวิถีใหม่ (The Study of Problems and Needs of The Students Towards Learning Crafts in the New Normal)

ผู้แต่ง

  • อารีรัตน์ แสนคำ (Areerut Sankham) มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • สิทธิญา ศรีจันทร์แก้ว (Sittiya Srijunkaew) Phranakhon Rajabhat University

คำสำคัญ:

สภาพปัญหา, ความต้องการ, งานประดิษฐ์

บทคัดย่อ

การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของนักเรียนที่มีต่อการเรียนงานประดิษฐ์ในยุคชีวิตวิถีใหม่มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการทำงานประดิษฐ์ในยุคชีวิตวิถีใหม่และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการทำงานประดิษฐ์ยุคชีวิตวิถีใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนมัธยมสาธิตวัดพระศรีมหาธาตุ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ได้มาโดยการสุ่มโดยใช้ตารางของทาโร่
ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า

  1. สภาพปัญหาของนักเรียนที่มีต่อการเรียนงานประดิษฐ์ในยุคชีวิตวิถีใหม่อยู่ในระดับมาก (= 3.87) ปัญหาที่พบมากได้แก่ รูปแบบการใช้สื่อการสอนงานประดิษฐ์ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอน และบรรยากาศในการเรียนการสอนออนไลน์ไม่เหมาะสมกับการเรียนภาคปฏิบัติ

ความต้องการของนักเรียนที่มีต่อการเรียนงานประดิษฐ์ในยุคชีวิตวิถีใหม่อยู่ในระดับมาก (= 4.14)  และความต้องการของนักเรียนใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ติดตามงานที่มอบหมายอย่างสม่ำเสมอ 2) ประยุกต์บทเรียนให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่ 3) การอธิบาย ชี้แจง และการสาธิตในรายละเอียดอย่างชัดเจน

References

Burapakusolsri, J., Chalapirom, P., and Layim, T. (2014). Textbook for Basic Crafts 4-6. Nonthaburi: Aimphan. (in Thai)

Kajornsin, B. (2000). Education Research Methodology. 5th ed. Bangkok: P.N. press.

McClelland, D. C., and Steele, R. S. (1973) Human Motivation: a Book of Readings. General Learning Press, Morristown. (in Thai)

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand. (in Thai)

Prasertsri, R. (2005). Organizational Behavior. Bangkok: Dharmasarn. (in Thai)

Pratthanaruk, C. (2015). A Study of States, Problems and Solutions of Using Electronics Media for Instruction Science of Inservice Teachers in Secondary School Under the Secondary Education Service Area Phichit the Secondary Area, Thailand. Master of Art Thesis Program in Educational Technology and Communications, Faculty of Education, Naresuan University. (in Thai)

Sitthichen, Y. (2017). Development of a Learning Activities Package Based on Harrow’s Instructional Model for Psychomotor Domain on Invention from Recyclable Waste Materials in the Career and Technology Learning Area for Prathom Suksa III Students in Schools under Songkhla Primary Education Service Area Office 1. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Sukdee, N., and Rupan, P. (2016). “A Study of Problem and Need in the Management of Information Technology of Schools Under Phranakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1”. ARU Research Journal 3(3): 39-46. (in Thai)

Suphagontanasan, C. (2021). “The Development of Instructional Model of Career and Technology to Enhance Creative Thinking and Crafts Skills of Prathomsuksa 4 Students”. Manpower Potential Development Institute Journal for Eastern Economic Corridor 1(1): 42-61. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2022-07-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย