ผลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ผลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา, แนวทางการพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหาร, การศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาผลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยคริสเตียน (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา  และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา  ประชากรเลือกแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพชั้นปีที่ 2 จำนวน 15 คน อาจารย์นิเทศ จำนวน 4 คน และผู้บริหารพี่เลี้ยง จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการ และแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาค่าความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC: Index of item objective congruence) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน มีค่าความสอดคล้องทุกข้อ เท่ากับ 1.00 และการหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้วยวิธีการของครอนบาค (Cronbach) ได้ค่าความเชื่อมั่นรวมทั้งฉบับเท่ากับ .985 ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการของหลักสูตร จำนวน  10  ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .967 การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่  ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา  หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการบริหารการศึกษา  มหาวิทยาลัยคริสเตียน โดยภาพรวมนักศึกษาเห็นว่ามีผลการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด จำแนกเป็นรายมาตรฐานทั้ง 3 ด้านปรากฏว่าด้านการปฏิบัติงานมีผลความสำเร็จมากกว่าด้านอื่น รองลงมาได้แก่ด้านความรู้และประสบการณ์ และด้านการปฏิบัติตน ตามลำดับ (2) ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษอยู่ในระดับมากที่สุด และ(3) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา   มีองค์ประกอบความสำเร็จ 5  องค์ประกอบ  ได้แก่ หลักการและวัตถุประสงค์ของการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ คุณลักษณะของอาจารย์นิเทศ คุณลักษณะของนักศึกษากระบวนการและกิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ  และการบริหารจัดการของหลักสูตร ข้อเสนอแนะควรนำผลการศึกษาและแนวทางการพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาไปใช้ในการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพต่อไป

References

Best, John W., (1977), Research in Education, Englewood Cliffs, New Jersey, Prentice – Hall Inc,

Bouchaud, B., Brown, D., & Swan, B. A. (2017). Creating a New Education Paradigm to Prepare

Nurses for the 21st Century. Journal of Nursing Education and Practice, 7(10), 27-35.

Welskop, W. (2014) ACTION LEARNING IN EDUCATION. Retrieved August 4, 2019

https://www. researchgate.net/publication /25997121631

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom.

ASHE-ERIC Higher Education Report, Washington DC: School of Education and Human

Development, George Washington University.

Meyers, C., & Jones, T. B. (1993). Promoting Active Learning: Strategies for the College

Classroom.San Francisco, CA: Jossey-Bass Inc.

R.M. Felder & R. Brent. (2016). Teaching and Learning STEM: A Practical Guide, Ch. 6. San

Francisco: Jossey-Bass.

Twin, Alexandra . (2020). “ Practice Management” , Investopedia, Retrieved from

https://www.investopedia.com/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-11-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย