การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ ตามแนวการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • เกศริน ทองงาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษ /การอ่านอย่างมีวิจารณญาณ/ การอ่านแบบปฏิสัมพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตาม       แนวการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา(Research and Development) โดยกำหนดรูปแบบการทดลอง คือ กลุ่มทดลองทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน            กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/11 โรงเรียนปทุมวิไล  จำนวน  30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบ   แบบสอบถามความพึงพอใจ แบบบันทึกหลังการเรียนรู้ และประเด็นการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  การทดสอบค่าที (dependent t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

                       1) การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านภาษาอังกฤษตามแนวการอ่านแบบปฏิสัมพันธ์เพื่อ

ส่งเสริมความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ  สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  มีชื่อว่า 

รูปแบบสามพีสองอี (3P 2E  Model) จากการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญรูปแบบการเรียนการสอนมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ รูปแบบการเรียนการสอน มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์  องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขของการใช้รูปแบบ  กระบวนการเรียนการสอนมี  5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1  การเตรียมความพร้อม (Preparing) ขั้นที่ 2 การให้ความรู้และสอนทักษะ(Providing and Teaching) ขั้นที่ 3  การฝึกหัด (Practicing) ขั้นที่  4  การปฏิบัติจริง (Executing) และขั้นที่  5  การประเมินผล (Evaluating)  

                       2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสามพีสองอี (3P 2E  Model) พบว่า  นักเรียนมีความสามารถในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอน แตกต่างกันอย่าง  มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  โดยหลังการใช้รูปแบบการสอนนักเรียนมีความสามารถอยู่ในระดับ  ปานกลาง สูงกว่าก่อนเรียนซึ่งอยู่ในระดับต่ำ  และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนอยู่ในระดับมาก  โดยเฉพาะด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการอ่านอย่างมีวิจารณญาณซึ่งมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน       

The objectives of this research were to: 1) develop an English reading instructional model based on  the interactive reading approach to enhance critical reading abilities, 2) study the effectiveness of the instructional model and the students’ satisfaction towards the instructional model. The research method used was Research and Development (R & D).  The samples were 30 eleventh grade students of Pathumwilai School, Pathumthani. The research instruments were lesson plans, critical reading ability tests, and questionnaires. The obtained data were analyzed by mean, standard deviation, dependent t-test and content analysis.

              The research results were as follows:

                      1) The English reading instructional model based on the interactive reading approach to enhance critical reading abilities of eleventh grade students named “3P 2E Model” was appropriately verified by the experts. It consists  of 3 components as follows: principle and objective components, procedural components, and model-implemented condition components. The instructional procedure comprises 5 phases: 1. Preparing  2. Providing and Teaching 3. Practicing   4. Executing  and  5.Evaluating.                                

                       2) The results of the implementation of 3P 2E Model revealed  that critical reading abilities of  the students before and after the experiment were significantly different at the level of .05.  The critical reading abilities after the experiment (a moderate level) were higher than those before the experiment (a low level). The students' satisfaction towards the instruction was overall at a high satisfaction level, especially the usefulness of critical reading skills in everyday life. 

เผยแพร่แล้ว

2014-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย