การพัฒนาทักษะชีวิตในกิจกรรมแนะแนวชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยโครงงาน

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ ไตรรัตนานนท์

คำสำคัญ:

ทักษะชีวิต / กิจกรรมแนะแนว / กิจกรรมโครงงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยโครงงาน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  ที่มีต่อการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยโครงงาน  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบ้านปล่องเหลี่ยม จำนวน 51 คน ผลการวิจัยพบว่า

1) ผลการเรียนรู้ทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยโครงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยทักษะชีวิต ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม

2) ความสามารถในการทำโครงงานของนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับสูงเรียงตามลำดับได้แก่ การวางแผนทำโครงงาน การลงมือทำโครงงาน  ส่วนความสามารถด้านการเลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา  การนำเสนอผลงานและการเขียนรายงานอยู่ในระดับปานกลาง

3) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมแนะแนวด้วยโครงงาน พบว่าโดยภาพรวมนักเรียนเห็นด้วยอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากการร่วมปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้และด้านบรรยากาศในการเรียนรู้

The purposes of this experimental research were to: 1) compare learning outcomes of life skills  between before and after using project-based approach 2) study the students’ abilities of performing a project work after using project-based approach 3) study the students’ opinions toward project-based approach. The sample group in this research were 51 fifth grade students in the second semester of the 2012 academic year from Ban Plongliam school.

The results of this research were :

                      1) The difference of students’ learning outcomes on life skills before and after using project-based approach were statistically significant at .01 level. The students’ learning  outcomes after using project-based approach were higher than earlier.

                      2) The students’ abilities performed by project-based approach were at high level

when considered in each ability the finding showed that project planning and project acting were at a high level but topics choosing and project presentation and report writing were at a middle level.

                      3) The students’ opinions toward project-based approach were at a high level of

agreement in the following aspects respectively, the usefulness of participation in the activities, learning activities and learning atmosphere. 

เผยแพร่แล้ว

2014-12-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย