ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เป็นไท เทวินทร์

คำสำคัญ:

ทักษะการตัดสินใจ/ การศึกษาต่อ/ ชุดกิจกรรมแนะแนว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสันป่าสัก จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อ 2) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจของนักเรียนกลุ่มทดลอง และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว กับระยะติดตามผล

ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (2) ภายหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาต่อสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01และ (3) ในระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีทักษะการตัดสินใจเลือกแนวทางการศึกษาไม่แตกต่างจากระยะหลังการทดลอง

The purposes of this study were (1) to compare decision-making skills in furthering study of MathayomSuksa III students at Ban Sanpasak School in Chiang Mai province, who were in the experimental group, before and after using a guidance activities package to develop decision-making skill in furthering study; (2) to compare the decision-making skill in furthering study of the experimental group students with that of control group students who used a normal guidance activities package; and (3) to compare the decision-making skill in furthering study of the experimental group students at the post-experiment period with their counterpart skill at the end of the follow-up period.

The results showed that : 1) the post-experiment decision-making skill in furthering study of the experimental group students was significantly higher than their pre-experiment counterpart skill at the .01 level; 2) after the experiment, the decision-making skill in furthering study of the experimental group students was significantly higher than the counterpart skill of the control group students at the .01 level; and 3) no significant difference was found between the experimental group students’ decision-making skill in furthering study at the post-experiment period and their same skill at the end of the follow-up period.

เผยแพร่แล้ว

2014-12-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย