การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (An Evaluation of Master of Education Program in Educational Technology (Revised 2561 B.E.), Faculty of Education, Silpakorn University)

ผู้แต่ง

  • น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ (Nammon Ruangrit) -
  • ฐาปนีย์ ธรรมเมธา (Thapanee Thammeta)
  • เอกนฤน บางท่าไม้ (Ekanarin Bangthamai)
  • อนิรุทธ์ สติมั่น (Anirut Satiman)

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร / หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต / สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และเพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPPI Model ประกอบด้วยการประเมิน 5 ด้าน คือ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และผลกระทบ เก็บข้อมูลจากโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอนและแบบสอบถามจากบัณฑิตที่จบจากหลักสูตร และผู้ใช้บัณฑิต เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์และแบบสอบถามออนไลน์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

  1. หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ด้านบริบท ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด ส่วนด้านปัจจัยนำเข้ามีความเหมาะสมในระดับมาก
  2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ ควรปรับแผนการรับนักศึกษาและควรมีการกำกับนักศึกษาให้เรียนสำเร็จภายในระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดและติดตามการเรียนและการทำวิทยานิพนธ์อย่างเคร่งครัด และมหาบัณฑิตควรได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้สะท้อนศักยภาพของหลักสูตรมากยิ่งขึ้น เน้นการถ่ายทอดความรู้ไปยังบุคคลอื่น และควรเป็นผู้นำด้านวิชาการในการนำเทคโนโลยีการศึกษา

 

References

Buasri T. (1989). Design and Develop Curriculum Theory. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.

Hoksuwan P, and Peerapattanapong N. (2016). Curriculum Evaluation and Employers Opinion forStudents:

A Case Study of the M.ed in Educational Technology curriculum, faculty ofEducation, Burapha University. Journal of Education, Burapha

University 27(1): 49-60. (in Thai)

Nilphan, M. (2011). The Evaluation of Philosophy Doctor of Education in Curriculum and Teaching Educational, Faculty of Education,

Silpakorn University. Verridian E-Journal, Silpakorn University: Humanities, Social Sciences and arts 4(2): 248-262. (in Thai)

Patphol M. (2015). Curriculum Evaluation for learning and developing. 4th ed. Bangkok: Jaransanitwong Printing. (in Thai)

Petchroj L. (2019). “Evaluation of Curriculum in Master of Education Program in Educational Administration Rajapruk University Using

CIPPIEST Model”. Journal of Humanities and Social Sciences, Rajapruk University 5(2): 19-36. (in Thai)

Ringler M. C. and W. Rouse (2007). “Evaluation of a Doctoral Program in Educational

Leadership”. National Council of Professors of Education Administration. Retrieved

/12/2022 from Evaluation of a Doctoral Program in Educational Leadership (cnx.org)

Ruangrit N, et al. (2021). An Evaluation of Doctoral of Philosophy Program in Educational Technology Faculty of Education, Silpakorn

University. Silpakorn Education Research Journal 13(1): 113-131. (in Thai)

Samkoses V. (2016). A good curriculum. News in Educational Quality Assessment.King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

(in Thai)

Stake, R. E. (1967). “The Countenance of Educational Evaluation”. Teachers College Record 68:

-540.

Stracke E. (2010). Undertaking the Journey Together: Peer Learning for a Successful and Enjoyable PhD Experience. Journal of University

Teaching & Learning Practice 7(1), 111-121.

Tonbul, Y. (2014). “A Comparative Study of Selection, Training and Advisory Practices for Doctoral

Education”. Eurasian Journal of Educational Research 55: 263-282.

Wangthanomsak M, et al. (2017). “The Evaluation of the Ph.D. Curriculum in Educational

Administration (revised 2556 B.E.)”. Veridian E-Journal ฉบับ International Humanities,

Social Science and Arts 10(4): 348-361.

เผยแพร่แล้ว

2022-11-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย