ผลของโปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไว ของนักกีฬาฮอกกี้หญิง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Effects of Complex Training Program up on the Agility of Female Hockey Players Kasetsart University)

ผู้แต่ง

  • เปรมปรีดิ์ ปัญจะรักษ์ (Preampree Panjarak) Kasetsart University
  • ธีรนันท์ ตันพานิชย์ (Theeranan Tanphanich)

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน, โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาฮอกกี้, ความคล่องแคล่วว่องไว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบผสมผสานที่มีต่อความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฮอกกี้หญิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักกีฬาฮอกกี้หญิงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 36 คน           มีอายุระหว่าง 18 - 28 ปี เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 18 คน คือกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ทำการฝึก 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการฝึกทักษะกีฬาฮอกกี้ 2) โปรแกรมการฝึกแบบผสมผสาน 3) แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวของ Illionis Agility Run Test ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคล่องแคล่วว่องไว ภายในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีเวลาทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวลดลง แสดงว่านักกีฬาฮอกกี้หญิงกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองมีความคล่องแคล่วว่องไวเพิ่มมากขึ้น และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความคล่องแคล่วว่องไวระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มีเวลาการทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวลดลง แต่กลุ่มทดลองมีเวลาทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมและมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

References

Bompa, T. O. (1999). Periodization (4th ed.). United State: Human Kinetic.

Boonchai, K. (2002). Physical Fitness. Bangkok: Department of Physical Education Faculty of Education Kasetsart University. (in Thai)

Chu, D. A. (1996). Explosive Power and Strength. Champaign IL: Human Kinetics.

Getchell, B. (1979). Physical Fitness A Way of Life. New York: John Wiley and Sons.

Gabbett, T. J. (2010). “The Development and Application of an Injury Prediction Model for Noncontact, Soft-tissue Injuries in Elite Collision Sport Athletes”. Journal of Strength and Conditioning Research 24(10): 603-2593.

Katsumura, R., and et al. (1986). “A Study of Physique and Physical Fitness of Field Hockey Players. A Case of Japanese National Men's Field Hockey Players”. Journal of Physical Fitness and Sports Medicine 35(1): 1-10.

Klaitin, T. (2009). Effects of Complex Training on the Speed and Agility of Football. Master of

Education Thesis Program Physical Education of the Faculty of Physical Education Srinakharinwirot University. (in Thai)

Krabuanrat, C. (2014). Sports Coaching Science. Bangkok: Sinthanacopy. (in Thai)

Pianchob, W. (2005). Includes Articles on Philosophies Principles Teaching Methods and Measurements for Evaluating Physical Education. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Rovinelli, R. J., and Hambleton, R. K. (1977). “On The Use of Content Specialists in The Assessment of Criterion-Referenced Test Item Validity”. Dutch Journal of Educational Research 2: 49-60.

Srisaat, B. (2017). Preliminary Research. 10nd ed. Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)

Tanphanich, T. (2020). Field Hockey. Bangkok: Vista Interprint. (in Thai)

Thongrot, M., and et al. (2018). “Creating an Athlete Agility Training Program Futsal”. Ramkhamhaeng Journal Graduate School Edition 1(3): 75-85. (in Thai)

Twist, P., and Benicky, D. (1996). “Conditioning Lateral Movement for Multi-Sport Athletes”. Strength and Conditioning Journal 18(5): 10-19.

Wichan, A. (2019). Combined Training Effect on Speed and Agility in Female Handball Players,Institute of Physical Education Lampang Campus. Master of Education Thesis Program in Science Department of Sports and Exercise Science Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)

เผยแพร่แล้ว

2022-11-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย