การประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • สิทธิชัย ลายเสมา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรวุฒิ มั่นสุขผล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เอกนฤน บางท่าไม้ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อนิรุทธ์ สติมั่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ศิวนิต อรรถวุฒิกุล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มนธิรา บุญญวินิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุสรา เดชจิตต์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, ศิลปศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นการวิจัยประเมินผลโดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI Model สอบถามความคิดเห็นและสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 10 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง บัณฑิตปีการศึกษา 2563 จำนวน 56 คน นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นปีที่ 3-4 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 30 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรมีความเหมาะสมในภาพรวมระดับมากที่สุด โดยด้านบริบทพบว่า วัตถุประสงค์ของหลักสูตรที่ชัดเจน โครงสร้างของหลักสูตรมีความครอบคลุม เหมาะสมตามสาขาวิชา และแผนการดำเนินงานจะเน้นแผนการพัฒนานักศึกษาให้สามารถแข่งขันกับตลาดแรงงานและแผนการพัฒนาอาจารย์ ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า เนื้อหาสาระของรายวิชาในหลักสูตรมีความเหมาะสม อาจารย์ผู้สอนทุกคนมีคุณวุฒิทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา งบประมาณที่ใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตรตามความเหมาะสมซึ่งเพียงพอ ด้านกระบวนการ พบว่า การจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งภาคทฤษฎีที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ การจัดฝึกอบรมเพื่อการเรียนรู้ และการวิจัย ประเมินผลมีความเที่ยงตรงมากที่สุด จะเน้นการประเมินผลตามสภาพจริง ด้านผลผลิต พบว่า บัณฑิตที่จบการศึกษาเป็นที่ยอมรับของหน่วยงาน และบุคคลในวิชาชีพ และด้านผลกระทบ พบว่า บัณฑิตมีความภาคภูมิใจในสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา สามารถนำความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงาน

2. ผลการศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พบว่า แนวทางการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรควรมุ่งส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนเริ่มจากหลักการ ทฤษฎีทางด้านสื่อ และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการศึกษา สามารถใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษาเหมาะสมกับงานในด้านต่าง ๆ สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อการจัดการเรียนรู้ในแต่ละระดับได้อย่างสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษา และทรัพยากรแหล่งเรียนรู้ ในรูปแบบต่าง ๆ มาปรับใช้ในกระบวนการจัดการเรียนการสอน การจัดฝึกอบรมเพื่อการเรียนรู้และการวิจัย ตลอดจนสามารถประเมินผลการพัฒนานวัตกรรม และสื่อเทคโนโลยีการศึกษา นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรควรมีการส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะในด้านความรับผิดชอบ สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพเทคโนโลยีการศึกษา

References

Association for Educational Communications and Technology. (2012). AECT Standards for Professional Education Programs. [Online]. Retrieved May 12, 2021, from https://www.aect.org/docs/AECTstandards2012.pdf

Homfung, C. and et al. (2015). Assessment of Bachelor of Education Program Department of Thai Language Faculty of Education Silpakorn University. Nakhon Pathom : Faculty of Education Silpakorn University. (in Thai)

Nillapun, M. and et al. (2011). “Evaluation of the Doctor of Philosophy Program Curriculum and Teaching Disciplines Faculty of Education Silpakorn University”. Veridian E-Journal 4(2): 248-262.

__________. (2015). Notification of the Ministry of Education Re: Standards for Undergraduate Qualifications, B.E. 2558. [Online]. Retrieved May 20, 2021, from http://www.mua.go.th/users/tqf.-hed/news/news6.php. (in Thai)

Ministry of Digital Economy and Society. (2020). Information and Communication Technology Policy Framework 2011-2020 of Thailand, ICT 2020. Bangkok. (in Thai)

Office of the Higher Education Commission. (2005).Undergraduate Program Criteria 2005. [Online]. Retrieved March 15, 2021, from http://eduserv.ku.ac.th/organization/cooperative/ data/Bachelor.pdf. (in Thai)

__________. (2015). National Qualifications Framework for Higher Education, B.E. 2015. Bangkok. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board Office. (2018). 20-Year National

Strategy 2018 - 2037. Bangkok. (in Thai)

Pattaphol, M. (2015). Assessment of Curriculum for Learning and Development. 4th ed. Bangkok: Charansanitwong Printing. (in Thai)

Phithiyanuwat, S. (1997). Official Article on Project Evaluation. 5th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Phuphan, S. (2003). Basic Concepts of Curriculum Creation and Development. Chiang Mai : The Knowledge Center. (in Thai)

Ruangpanich, P. (2010). Assessment of the Bachelor of Education Program. Branch of Early Childhood Education According to the Collaboration Project on the Development of Educational Personnel of Local Government Organizations between the Department of Local Administration and Suan Dusit Rajabhat University Case Study Nakhon Sawan Center. Bangkok: Srinakharinwirot University. (in Thai)

Stufflebeam, Daniel, L. and et al. (1971). Education and Decision Making. Illinois: Peacock/ Pulisher Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29