การพัฒนารูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูพณิชยกรรม

ผู้แต่ง

  • จิตณรงค์ เอี่ยมสำอางค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูพณิชยกรรม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชฯ ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนาและประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่เป็นครูพณิชยกรรม จำนวน 6 คน และนักเรียนจำนวน 235 จากวิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ คู่มือรูปแบบการโค้ช แผนการโค้ช ปฏิทินการโค้ช แบบทดสอบความรู้
ความเข้าใจเกี่ยวกับการโค้ชและการคิดวิเคราะห์ แบบประเมิน แบบบันทึกความคิดเห็นและแบบสังเกตพฤติกรรมการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
ที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนและประเด็นการสนทนากลุ่ม ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิตแบบ
ไม่อิงค่าพารามิเตอร์การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1 การพัฒนารูปแบบการโค้ชทางปัญญาแบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่พัฒนาขึ้นถูกเรียกว่ารูปแบบการโค้ชเอพีซีซีเอ็มพีอาร์อี ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ 2) กระบวนการดำเนินการโค้ช 8 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและกำหนดประเด็นการพัฒนา ระยะที่ 2 การเตรียมการด้านความรู้และทักษะการปฏิบัติการโค้ชระยะที่ 3) การร่วมมือกันวางแผนและกำหนดวัตถุประสงค์ของการพัฒนา ระยะที่ 4 การปฏิบัติการโค้ช ระยะที่ 5 การทบทวนระหว่างกระบวนการและอภิปรายไตร่ตรองสะท้อนคิด ระยะที่ 6 การดำเนินการปฏิบัติการโค้ชต่อ ระยะที่ 7 การทบทวนไตร่ตรองสะท้อนคิดและสรุปผล ระยะที่ 8 การประเมินผลการใช้รูปแบบการโค้ชร่วมกันและ 3) ปัจจัยสนับสนุน

2. ผลการหาประสิทธิผลของรูปแบบการโค้ชเอพีซีซีเอ็มพีอาร์อี พบว่า สมรรถภาพการโค้ช และการจัดการเรียนรู้ของครูที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์หลังการใช้รูปแบบการโค้ชฯสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการโค้ชฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูพณิชยกรรมมีความเห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นส่งเสริมการพัฒนาวิชาชีพและการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ และความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 รวมทั้งนักเรียนพณิชยกรรม มีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของครูในระดับเห็นด้วยมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย