รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการ สำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พะโยม ชิณวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย และ 2) รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้เป็นค่าความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) การวิเคราะห์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความรอบรู้แห่งตน (2) แบบแผนความคิดอ่าน (3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม(4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมและ (5) การคิดเชิงระบบ โดยมีตัวแปรองค์ประกอบ จำนวน 17, 12, 10, 21 และ 15 ตัวแปรตามลำดับและสามารถอธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบได้ร้อยละ 65.75รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทยที่เหมาะสมสำหรับอนาคต พบว่า (1) ความรอบรู้แห่งตน มีอิทธิพลทางตรงต่อการคิดเชิงระบบและทางอ้อมกับ แบบแผนความคิดอ่าน การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (2) แบบแผนความคิดอ่าน มีอิทธิพลทางตรงต่อ การคิดเชิงระบบและทางอ้อม ได้แก่ ความรอบรู้แห่งตน การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีอิทธิพลทางตรงต่อ การคิดเชิงระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย