การพัฒนาระบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • อาจณรงค์ มโนสุทธิฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนเขียนโปรแกรมและแนวทางการสอนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาระบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ
3) ประเมินประสิทธิภาพการใช้ระบบการสอน โดยขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ ขั้นที่ 2 การออกแบบ ขั้นที่ 3 การพัฒนา ขั้นที่ 4 การนำไปใช้ และขั้นที่ 5 ประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ห้องเรียนผู้มีความสามารถพิเศษคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน โดยใช้การทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย 1) ปัจจัยด้านบุคลิกภาพ 2) ปัจจัยด้านความรู้ ความสามารถทางวิชาการ 3) ปัจจัยด้านคุณสมบัติพิเศษ (ปัญญาเลิศ) 4) ปัจจัยด้านสังคม และ 5) ปัจจัยสนุบสนุนด้านอื่นๆ นอกจากนั้นกลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้นำเสนอรูปแบบการจัดการเรียนการสอนไว้ดังนี้ 1) คัดเลือกผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม 2) ทดสอบความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียน 3) จัดกิจกรรมฝึกประสบการณ์เพื่อประเมินศักยภาพ และ 4) ใช้รูปแบบการเรียนแบบพิเศษโดยเฉพาะเพื่อดึงความสามารถสูงสุดของผู้เรียน 2) ระบบการสอนเพื่อพัฒนาความสามารถในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้น มีองค์ประกอบ 6 หน่วยย่อย คือ 1) หน่วยสนับสนุน 2) หน่วยประเมินศักยภาพและจัดกลุ่ม 3) หน่วยปรับพื้นฐาน4) หน่วยเรียนรู้เนื้อหาใหม่และฝึกฝนทักษะ 5) หน่วยฝึกทักษะและประสบการณ์ขั้นสูง และ 6) หน่วยวัดและประเมินผล 3) ผลการนำระบบการสอนไปทดลองใช้พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนหลังการเรียนด้วยระบบการสอนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย