การศึกษาความสอดคล้องของการระบุความเข้มงวด/ ใจดี และการทำหน้าที่ต่างกัน ของผู้ตรวจให้คะแนนเมื่อเวลาผ่านไป ของผู้ตรวจให้คะแนนความสามารถ ในการเขียนเรียงความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาเกณฑ์การตรวจให้คะแนนเรียงความ 3 รูปแบบ ระบุและศึกษาความสอดคล้อง ของความเข้มงวด/ ใจดีและการทำหน้าที่ต่างกันของผู้ตรวจให้คะแนนเมื่อเวลาผ่านไป เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เกณฑ์การตรวจให้คะแนนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 50 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 130 คน ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1. เกณฑ์การตรวจให้คะแนน 3 รูปแบบ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .813 - .921 2. การระบุความเข้มงวด/ ใจดี และการทำหน้าที่ต่างกันของผู้ตรวจให้คะแนนเมื่อเวลาผ่านไป พบว่า 2.1 การระบุความเข้มงวด/ ใจดี 1) แบบแยกองค์ประกอบ มีเข้มงวด 11 คน ใจดี9 คน และเป็นกลาง 74 คน 2) แบบรวมองค์ประกอบ มีเข้มงวด 9 คน ใจดี 11 คน และเป็นกลาง 74 คน 3) แบบผสมผสาน มีเข้มงวด 15 คน ใจดี 13 คน และเป็นกลาง 66 คน 2.2 การทำหน้าที่ต่างกันของผู้ตรวจให้คะแนนเมื่อเวลาผ่านไป 1) แบบแยกองค์ประกอบ มีผู้ตรวจให้คะแนนไม่คงที่ 71 คน และคงที่ 25 คน 2) แบบรวมองค์ประกอบ มีผู้ตรวจให้คะแนนไม่คงที่ 37 คน และคงที่ 59 คน 3) แบบผสมผสาน มีผู้ตรวจให้คะแนนไม่คงที่ 59 คน และคงที่ 37 คน 3. ความสอดคล้องของการระบุความเข้มงวด/ ใจดีและการทำหน้าที่ต่างกันของผู้ตรวจให้คะแนนเมื่อเวลาผ่านไป พบว่า 3.1 การระบุความเข้มงวด/ ใจดีไม่แตกต่างกัน (X2 = 4.000, p>.01) 3.2 การะบุการทำหน้าที่ต่างกันของผู้ตรวจให้คะแนนเมื่อเวลาผ่านไปแตกต่างกัน (X2 = 27.875, p<.01)