การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทราเขต 1

ผู้แต่ง

  • สาวิตรี อับดิน สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • อำภาพรรณ ตันตินาครกูล ภาควิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, การบริหารจัดการเรียนร่วม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนที่จัดการศึกษาเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 325 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Taro Yamane และใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ หลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 - 1.00 แบบสอบถามการรับรู้สภาพปัจจุบัน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบสอบถามการรับรู้สภาพที่คาดหวังมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNI modified)

ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสภาพปัจจุบันของครูที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.59, S.D. = 0.81) และข้อมูลสภาพที่คาดหวังของครูที่มีต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.76, S.D. = 0.42) ครูมีความต้องการจำเป็นต่อการบริหารจัดการเรียนร่วม ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน (A-Activities) เป็นลำดับที่ 1 ด้านสภาพแวดล้อม (E-Environment) ลำดับที่ 2 ด้านนักเรียน (S-Student) ลำดับที่ 3 และด้านเครื่องมือ (T-Tools) เป็นลำดับสุดท้าย

References

Arsirapotch, S. (1999). A Comparative Study on Attitude to the Ability in Learning and Adaptive Behaviours of Students with Mental Retardation between Administraters and Teachers in Mainstreaming Program in Bangkok. Master of Education Thesis Program of Education Program in Education Administration Facuty of Education Srinakharinwirot University. (in Thai)

Chachoengsao Primary Educational Service Area Office 1. (2019). Basic Education Quality Assessment Report, Academic Year 2019. [Online]. Retrieved January 10, 2022, from http://www.ccs1.go.th/gis/eoffice. (in Thai)

Chollatarnnont, B. (2003). Handbook for Integrated Class Management Using Seat Structures. Bangkok : Petai printing. (in Thai)

Kamsopha, K. (2003). Evaluation of Mainstreaming Management in Primary Schools Under the office of Si Sa Ket Provincial Primary Education. Master of Education Thesis Department of Educational Administration Department of Education Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai)

Ministry of Education. (1999). National Education Act B.E. (1999) .Bangkok : Siam Sport Syndicate Public Company Limited. (in Thai)

Thampoonpisai, R. (2013). Problem Situation and Provision Management in Leading Inclusive Schoolsin NarathiwatPrathomsuksaEducation Service Area Office. Master of Education Thesis Program in Education Administration Faculty of Education Songkhla Rajabhat University. (in Thai)

Tungkheonkhun, C. (1997). Performance Satisfaction of Teachers Teaching Students with Special Needs to Study with Normal Children in Primary Schools Under the Office of the National Primary Education Commission. Srinakharinwirot University. (in Thai)

Wongwanich, S. (2005). Need Assessment Research is Necessary. Bangkok: Publishing House of Chulalongkorn University. (in Thai)

Yokin, C. (2012). Inclusive Educational. [Online]. Retrieved January 18, 2022, from http://61.19.246.216/~nkedu2/?name=webboard&file=read&id=177. (in

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29