ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษาที่มีต่อ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • พรรณิภา อนันทสุข สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • พรรณราย เทียมทัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีที, แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิทีจีทีร่วมกับ แอปพลิเคชันเพื่อการศึกษากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนสตรีอ่างทอง จำนวน 41 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกันและการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า

1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีจีทีร่วมกับแอปพลิเคชันเพื่อการศึกษามีเจตคติต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับมาก

References

Amongarg, P. (2018). The Study of the Academic Achievement in Mathematic and the Addition and Subtraction Skills of Primary 1-2 (Grade 1-2) Students with Mixed Classes by Using the Cooperative Learning TGT Technique. Master of Education Thesis Program in Curriculum Development and Instruction Innovation Faculty of Industrial Rajamangala University of Technology Thanyaburi: 3. (in Thai)

Chomeya, R. (2010). Psychology: Fundamentals of Understanding Human Behavior. Mahasarakham: Mahasarakham University: 328-329. (in Thai)

Donna, J. Abernathy. (2020). The Advantages and Disadvantages of E-Learning. [Online]. Retrieved April 16, 2022, from http://talentgarden.org/en/digital-transformation.

Gikes and Grant. (2013). Mobile Computing Devices in Higher Education: Student Perspectives on Learning with Cellphones, Smart Phone and Social Media. [Online]. Retrieved April 18, 2022, from http://researchgate.net/publication/259143623

Jaitiang, A. (2010). Principles of teaching. Bangkok. O.S. Printing Houses. (in Thai)

Makanong, A. (2016). Mathematical Skills and Processes. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)

Ministry of Education. (2017). Indicators and Core Learning Content Mathematics Leaning Group (Revised Version 2017) According to the Basic Education Core Curriculum, B. E. 2551. Bangkok: The Agricultural Cooperative Assembly of Thailand Limited Printing House. (in Thai)

Mulkam, S. and Mulkam, A. (2003). 19 Learning Management: Develop Thinking Process. Bangkok: Parbpim. (in Thai)

Nutim, T. (2020). Development Learning Achievement about Website Design. Faculty of Information Technology Nakhonsithammarat Vocational College. (in Thai)

Phrachai, P. (2017). The Development of Achievement and Practical Skill Mathematics Problem Solving by using TGT Group Learning with Exercise On Multiplication for PrathomSuksa 3. Master of Education Thesis Program in Curriculum Development and Instruction Faculty of Education Rajabhat MahaSarakham University. (in Thai)

Ramkhamhaeng University. (2019). A Guide to Using Technology to Promote Multi-Learning. Bangkok: Author. (in Thai)

Rangabthuk, W. (1999). Student - Centered Learning Management. Bangkok: Love and Love Press: 34. (in Thai)

Saiyod, L. and Saiyod, A. (2000). Psychological Masurements. Bangkok: Suweerivasarn Company Ltd. (in Thai)

Sekhunthod, S. (2019). “E-Learning Guidelines Under Situation Coronavirus Disease-19 (COVID-19)”. Rajanagarindra Journal 18(2): 11-22. (in Thai)

Suthirat, C. (2016). 80 Innovative Learning Management that Emphasizes Student - Centered Learning. Nonthaburi: P Balanced Desingnand Printing. (in Thai)

Soswang, J. (2016). The Effects Learning Achievement on Mathematics Subjet of Phathomsuksa 4 Watjadsamien School Cooperative Learning with TGT. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction Faculty of Mathematics Education Ramkhamhang University. (in Thai)

The Secondary Educational Service Area Office 5. (2019). Budget Annual Action Plan 2019. Singburi. Author. (in Thai)

Thongkam, N. (2019). Particpating the Instructional Innovative Inventories with the Simulatio Based Learning and Application for Education Methods for Developing Student’ Learning Achievements at the 11th Grade on Light and Telescope. Master of Education Thesis Program Science Education Faculty of Education Rajabhat MahaSarakham University. (in Thai)

Wonganutarot, P. (2010). Personnel Management Psychology. Bangkok: Seusermkrungthep Ltd: 247-248. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29