การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชันนิสซึมผ่านสื่อ การเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะด้าน Soft Skills ให้กับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ, ทฤษฎีคอนสตรัคชันนิสซึม, สื่อการเรียนรู้มัลติมีเดีย, ทักษะด้าน Soft Skillsบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้ทฤษฎีคอนสตรัคชันนิสซึมผ่านสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะด้าน Soft Skills ให้กับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 และศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง 2) ออกแบบและพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะแล้วตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) นำกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะไปทดลองใช้ และ 4) ประเมินผลและปรับปรุงกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 120 คน โดยจัดกิจกรรม 7 กิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก กิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะโดยใช้หลักทฤษฎีคอนสตรัคชันนิสซึมผ่านสื่อการเรียนรู้มัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมทักษะด้าน Soft Skills ให้กับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินความเหมาะสมของกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะฯ แบบประเมินชิ้นงาน แบบสังเกตพฤติกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ และการเขียนสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการนำกิจกรรมไปใช้สรุปได้ว่า ผลการศึกษาพบว่า 1) กิจกรรมศิลปะมี 7 กิจกรรม ดังนี้ 1.1) โครงสร้างสัดส่วนมนุษย์มุมมองด้านหน้า 1.2) โครงสร้างสัดส่วนมนุษย์มุมมองด้านข้าง 1.3) โครงสร้างสัดส่วนมนุษย์ มุม 45 องศา 1.4) ใบหน้า อารมณ์ และการแสดงออกของตัวละคร 1.5) ออกแบบตัวละคร 1.6) ออกแบบฉากและองค์ประกอบ และ 1.7) การนำเสนอผลงานกลุ่ม 2) ผลการนำกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะไปใช้สรุปได้ว่า 2.1) ชิ้นงานของผู้เรียนทั้ง 6 กิจกรรม คุณภาพผลงานอยู่ในระดับดี 2.2) พฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ดี 2.3) ผลการประเมินผลทักษะ Soft Skills ของผู้เรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับดีเยี่ยม 2.4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในกิจกรรมการเรียนรู้ศิลปะฯ ในระดับมาก และ 2.5) การสะท้อนคิดของผู้เรียน มีดังนี้ ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เข้าใจและสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้ เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน ผ่านสื่อมัลติมีเดีย มีทักษะในการแก้ปัญหา การทำงานร่วมกัน ทักษะในการสื่อสาร และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดในระดับมัธยมปลายและอุดมศึกษาต่อไป
References
Guilford, J.P. (1950). Creativity. American Psychologist. No 5.
Hugh, D. 2019. Education for the 21st Century Skills Development is at the Heart of Education. [Online]. Retrieved January 20, 2021, from https://www.unicef.org/ thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21. (in Thai)
Hilal, A, Ehab F. A. and Amjad, S. (2015). “The Effectiveness of Multimedia Learning Tools in Education”. International Journal of Advanced Research in Computer Science and Software Engineering. 5(12): 761 -764.
Johnson, H. and Hyde, J. (2003). “Towards Modeling Individual and Collaborative Construction of Jigsaws Using Task Knowledge Structures (TKS)”. ACM Transactions on Computer - Human Interaction 10(4): 339-387.
Kowtrakul, S. (2002). Educational Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Liu, J. (2019). The 10 Most in-Demand Soft Skills to Master If You want a Raise, Promotion or New Job in 2020. [Online]. Retrieved December 13, 2023, from https://www.cnbc. com/2019/11/21/10-top-soft-skills-to-master-for-2020-if-you-want-a-raise-promotion-or- new-job.html.
Newell, Shaw and Simpson. (1963). The Process of Creative Thinking In Contemporary Approaches to Creative Thinking. New York: Atherton.
Office of the Civil Service Commission. (2016). Creative Thinking. [Online]. Retrieved February 3, 2021, from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb13.pdf.
Papert, S. and Harel, I. (1991). Situating Constructionism. [Online]. Retrieved February 3, 2021, from https://web.media.mit.edu/~calla/web_comunidad/ReadingEn/situating_cons tructionism.pdf.
Sanguanwongwan, W. (2004). Management and Organizational Behavior. 2th edition. Bangkok: Pearson Education. (in Thai)
Sariwat, L. (2014). Psychology for Teachers. Bangkok: O.S. Printing House Co., Ltd. (inThai)
Schmid, T. (2005). Promoting Health Through Creativity For Professionals in Health. Arts and Education. London : Whurr Publishers ltd.
Schramm, w. (1974). Nature of Communication between Humans in W. Urbana IL:
University of Illinois.
Somyaron. W. (2020). “Development of Creative Learning Skills Through Multimedia Learning Based on Constructionism to Enhance Learning Competency Skills in the 21st Century of Primary School in Phayao Province”. Journal of Education, Prince of Songkla University, Pattani Campus 31(1): 99-109.
Tangcharoen, W. (2006). Dynamic Art Education. 1st Printing. Bangkok: Santisiri Printing.
Wongchoo, N. (2012). “Developing Grade 5 Students Creative Thinking In Art Subject of Drawing and Painting Using Creative Thinking Learning Activities”. Journal of Education Khon Kaen University 35(4): 42-49.
Wattanasin, W. (1999). “Art Education: Guidelines for Educational Management According to the National Education Act 1999”. Rusameelae Journal. Prince of Songkhla University Pattani Campus 20(2): 47-60. (in Thai)
Wongyai, W. and Pattaphol, M. (2019). Soft Skills to Master. Bangkok: Graduate School of Srinakharinwirot University. (in Thai)
Yongthai, J. (2018). “Development of Critical thinking Skills and 21st Century”. Journal of Educational Administration Silpakorn University 9(2): 345-356.