ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • ภุมรินทร์ มุจรินทร์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • พรสิริ เอี่ยมแก้ว สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, ผังกราฟิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ75 ของคะแนนเต็ม 3) ศึกษาเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านดงคู้ ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังกราฟิก 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกมีเจตคติต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับสูง

References

Eisenkraft, A. (2003). “Expanding the 5E Model a Proposed 7E Modal Emphasizes Transfer of Learning and the Importance of Eliciting Prior Understanding”. The Science Teacher 70(6): 56-59.

Fongjan, W. (2014). Effects of Inquiry Learning Cycle (7E) with Graphic Organizers Technique on“Endocrine System” for Eleventhgrade Students. Master of Education Thesis Program in Science Teaching Faculty of Education Burapha University. (in Thai)

Insing, P. (2017). “The Effect of Inquiry Method 7E Learning Cycle with Graphic Organizer Technique on Biodiversity in Biology Subject of Twelefth Grade Students”. Interdisciplinary Sripatum Chonburi Journal 7(1): 47-56. (in Thai)

IPST. (2016). Manual of Learning Science Department. Bangkok: Author. (in Thai)

Khammanee, T. (2014). Strategies of Teaching: Knowledge for Effective Learning Process Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Khewkaew, S. (1997). Teaching Science at the Secondary Level. Pattani: Education Administration Faculty of Education Prince of Songkla University. (in Thai)

Ministry of Education. (2009). Teacher’s Role of Learning Management with Active Learning. [Online]. Retrieved January 15, 2022, from http://www.moe.go.th/moe/th/news/

detail.php?NewsID=12972&Key.

. (2016). Manual of Learning Science Department. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. (in Thai)

Nakhonsawan Primary Education Service Area Office 2. (2021). Data and Information (2021). Nakhonsawan: Primary Education Service Area Office 2. (in Thai)

Prajong, P. (2020). The Effectsof Inquiry Method using Graphic Organizer on Science Achievement of Prathomsuksa 6 Students. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction Program Faculty of Education Nakhonsawan Rajabhat University. (in Thai)

Ritbumrung, S. (2017). The Effects of Inquiry Method using Graphic Organizer on Science Achievement and Attitude of Prathomsuksa 3 Students. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction NakhonSawan Rajabhat University. (in Thai)

Supich, K. and Vijakkhanalan, S. (2015). “Graphic Organizers : Effective Learning Tool”. Journal of Liberal Arts Ubon Ratchathani University 11(2): 19-36. (in Thai)

Sutthirat, C. (2015). 80 Innovative Learning-Oriented Learning Management. 6th ed. Nonthaburi: P Balance Design and Printing. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-29