การประเมินสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการพัฒนาสมรรถนะความเป็นครูในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
คำสำคัญ:
การประเมิน, สมรรถนะความเป็นครู, ประกาศนียบัตรบัณฑิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 2) เปรียบเทียบสภาพความคาดหวังและสภาพความเป็นจริงในการพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสภาพความเป็นจริงในการพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต 2) ครูพี่เลี้ยง ในสถานศึกษา และ 3) ผู้บริหารศึกษาในสถานศึกษา ที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 122 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิจัย ซึ่งได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ (X) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่ม ที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (Paired Samples T-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพความคาดหวังในการพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.54, S.D. = 0.41) ส่วนสภาพความเป็นจริงในการพัฒนาสมรรถนะครูมืออาชีพในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.28, S.D. = 0.52) และ 2) สภาพความเป็นจริงน้อยกว่าสภาพความคาดหวังทั้งโดยรวมและรายสมรรถนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
References
Boonkan, D. (2020). “Needs for Teacher Competency Development in The 21st Century in Schools in Multi-Campus Schools 3 Big Buddha Images Under the Office of Secondary Education Service Area 29”. Journal of Educational Innovation and Research 4(3): 345 - 357. (in Thai)
Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test. (5th ed). Harper Collins.
Laohajaratsaeng, T. (2017). Learning in The Next Generation: The Future Episode of Thai Teachers, Teachers Breed C. [Online]. Retrieved January 20, 2023, from http://www. it.chiangmai.ac.th/issuedetail.php?ID=12. (in Thai)
McClelland, D. C. (1975). A Competency Model for Human Resource Management Specialists to be used in The Delivery of the Human Resource Management cycle. Boston: Mcber.
Office of The Basic Education Commission. (2010). Competency Assessment Handbook. (Revised Version). Bangkok: Prikwarn Graphic Co., LTD. (in Thai)
Phaitoon, K. (2017). “Conditions and Needs for the Development of Mentor Teachers Competencies Promoting Mathematics Learning Management in the 21st Century”. Journal of Yala Rajabhat University 12(2): 107-121. (in Thai)
Senajuk, W. (2017). A Teaching Evaluation of Pre-Service Teacher Students in Biology Major in Education Program of Rajabhat Maha Sarakham University. Master of Education Thesis Priogram in Biology Major Faculty of Education Maha Sarakham Rajabhat University. (in Thai)
Srisaard, B. (2013). Preliminary Research. (9th Ed). Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)
The Teachers Council of Thailand. (2019). “Regulations of the Teachers Council of Thailand on Professional Standards (Version 4) 2019”. Government Gazette 136(68): 19-20. (in Thai)
Vallakitkaseamsakul, S. (2011). Research Methods in Behavioral and Social Sciences. Udonthani: Aksornsil Printing. (in Thai)
Yamane, T. (1973). Statistics : An Introductory Analysis. (3rd ed). Harper and Row.