การพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
ความฉลาดทางดิจิทัล, พลเมืองดิจิทัล, การพัฒนาหลักสูตรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3) ทดลองใช้หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และ 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงหลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสังกัด เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) แบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรก่อนการนำไปทดลองใช้ 3) แบบประเมินทักษะความฉลาดทางดิจิทัล และ 4) แบบประเมินรับรองหลักสูตร สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) จากผลการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีความสำคัญในการนำมาพัฒนานักเรียนให้มีสามารถในการปรับตัวและอยู่บนโลกดิจิทัลได้อย่างปลอดภัย 2) หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ประกอบไปด้วยเนื้อหาจำนวน 8 ทักษะ โดยมีผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก 3) การทดลองใช้หลักสูตรส่งเสริมความฉลาดทางดิจิทัล พบว่า นักเรียนมีผลคะแนนสอบหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ผลการประเมินรับรองหลักสูตร โดยผู้ทรงคุณวุฒิในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก
References
Inthanon, S. (2018). DQ Digital Intelligence. Pathum Thani: Walk on Cloud Company. (in Thai)
Intun, S. (2018). Integrating Local Wisdom : Local Wisdom Curriculum Development for Learning Skill on Free Time in Elementary School Doi Lo District Chiang - Mai Province. Chiang Mai: Chiang Mai Rajabhat University. (in Thai)
Kaewurai, W. (2021). Curriculum Development. Phitsanulok: Naresuan University Publishing House. (in Thai)
Liamputtong, P. (2011). Focus Group Methodology: Principle and Practice. Thousand Oask: SAGE Publications.
Ministry of Education. (2008). Basic Education Curriculum B.E. 2551 (A.D.2008). Bangkok: The Agricultural Co-operatives Federation of Thailand. (in Thai)
Ministry of Education. (2021). MOE Digital Transformation for Education Action Plan 2020 – 2022. Bangkok: Ministry of Education. (in Thai)
National Innovation Agency. (2020). Digital Strategic Plan for Economy and Society. [Online]. Retrieved May 12, 2021, from https://www.nia.or.th/blog/7571/.
Thanatjiraphat, N. and Suksawat, J. (2021). “The Effects of Using a Guidance Activities Package to Develop Digital Intelligence Quotient of Mathayom Suksa II Students at Tessaban Khao Thaphra School in Chai Nat Province”. Journal of Faculty of Applied Arts 14(1): 1-10. (in Thai)
Wongkitrungruang, W. (2018). Digital Citizenship. Bangkok: Digital Economy Promotion Agency Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)