การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูระดับปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้ในจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ศรี สืบสิงห์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • นิธินาถ อุดมสันต์ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
  • สุภิมล บุญพอก สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาสมรรถนะครูด้านจัดการเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, สมรรถนะครูปฐมวัย

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูรดับปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้ ในจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาศักยภาพของครูปฐมวัยตามสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ ในจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูระดับปฐมวัย ในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งได้มาจากวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ คู่มือการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบทดสอบก่อนและหลังฝึกอบรมสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และค่า t – test โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า 1. การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพครูรดับปฐมวัยด้านการจัดการเรียนรู้ ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ สำหรับครูระดับปฐมวัยในจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 94.00/90.90 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80 2. การพัฒนาศักยภาพของครูปฐมวัยตามสมรรถนะ ด้านการจัดการเรียนรู้ ในจังหวัดร้อยเอ็ด การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการใช้การจัดกิจกรรมการสอนสำหรับครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดร้อยเอ็ด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

References

Bellanca, J. and Brandt, R. (2010). 21st Century Skills. [Online]. Retrieved August 10, 2009, from w.p21.org/index.php? option=com_content&task=view&id=254&Itemid =120.

Kosai, W. and Charoenpoj, M. (2018). “A Teacher Development Model using STEM Experience to Promote Early Childhood Learning Skills in The 2nd Century”. Academic Journal of Buriram Rajabhat University. 10(2). (in Thai)

Meesomsarn, K. (2017). “Guidelines for the Development of Learning Management Competencies of Early Childhood Teachers in the 21st Century”. Valaya Alongkorn Review Journal Humanities and Social Sciences. 7(2). (in Thai)

Meeraka, P. (2017). “What Must a Teacher Look Like in The 21st Century?”. MBU Education Journal Faculty of Education Mahamakut Buddhist University. 5(2). (in Thai)

Panich, W. (2012). Ways of Creating Learning for Students in the 21st Century. Bangkok: Sodsri - Saritwong Foundation. (in Thai)

Partnership for 21st Century Skills. (2009). 21st Century Support Systems. [Online]. Retrieved September, 21, from www.21stcenturyskills.org/route21/index.

Pongpanich, K. (2018). “Factor Analysis and Competency Indicators for Instructional Management of Teachers of Early Childhood Students Who Use Thai as a Second Language”. Journal of Yala Rajabhat University 13(1): 1 - 12. (in Thai)

Saiyod, L. and Saiyod, A. (2010). Educational Research Techniques. (11th edition). Bangkok: Suwiriyasan. (in Thai)

Siriprichayakon, R. (2017). Characteristics Development of Professional Early Childhood Teachers in the 21st Century According to Teacher Competencies Through Project - Based Learning Management. Bangkok: Suan Dusit University. (in Thai)

Srisaard, B. (2017). Preliminary Research. (10th edition). Bangkok: Suweeriyasan. (in Thai)

Utta, A. and Wannasri, A. (2020). “A Model for Developing the Competency of Early Childhood Teachers”. Journal of Education Naresuan University. 22(4). (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26