การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รูปแบบบอร์ดเกมการศึกษา เรื่อง ฮูปแต้ม เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ท้องถิ่น และการสร้างสรรค์งานศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • สายพิรุณ ยอดศิริ สาขาทัศนศิลปศึกษา คณะจิตรกรรม ประติมากรรม และภาพพิมพ์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วิสูตร โพธิ์เงิน ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปรีชา เถาทอง คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • พิสิฐ ตั้งพรประเสริฐ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, บอร์ดเกมการศึกษา, การเห็นคุณค่างานทัศนศิลป์ท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1. เพื่อศึกษาข้อมูลในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3. เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 3.1. เพื่อประเมินการเห็นคุณค่าของศิลปกรรมท้องถิ่น 3.2. เพื่อประเมินความพึงพอใจ 4. เพื่อปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้น ป.6 โรงเรียนอนุบาลกันทรวิชัย จ.มหาสารคาม จำนวน 40 คน จากการสุ่มอย่างง่ายโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือในการวิจัย 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ 2. แบบประเมินการเห็นคุณค่าของศิลปกรรมท้องถิ่น 3. แบบสัมภาษณ์ผู้เรียนแบบการสนทนากลุ่ม 4. แบบประเมินผลงานทัศนศิลป์ 5. แบบประเมินความพึงพอใจฯ ผลการวิจัย (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ความสอดคล้องกับความต้องการ และผู้เรียนมีความสนใจการเรียนรู้แบบเกมคิดเป็น 81.7% (2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย แผน 8 แผน บอร์ดเกมฯ 3 เกม คือ บอร์ดเกมสีของฮูปแต้ม บอร์ดเกมวาด ๆ ทาย ๆ ฮูปแต้ม และบอร์ดเกมช่างแต้ม (3) ผลการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า 3.1) ผลการประเมินการเห็นคุณค่าของศิลปกรรมท้องถิ่นอยู่ในระดับดีมาก (X = 3.3) จากการสัมภาษณ์ผู้เรียนแบบการสนทนากลุ่มพบว่า นักเรียนสามารถแสดงความรู้สึก สามารถเสนอวิธีการในการอนุรักษ์ ปกป้อง และบอกวิธีการที่จะเผยแพร่ในแบบของตนเองได้ และผลการประเมินผลงานศิลปะอยู่ในระดับ ดีมาก (X = 3.4) 3.2) ผลการประเมินความพึงพอใจ อยู่ในระดับ มากที่สุด (X = 4.0) 4) มีการปรับปรุงชุดกิจกรรมการเรียนรู้ฯเพื่อให้ชุดกิจกรรมฯนี้ มีความสมบูรณ์

References

Anubarnkantharawichai School. (2020). Art Subject Group Curriculum Structure (Visual Arts)

Anubarnkantharawichai School. Maha Sarakham: Mueang Maha Sarakham District, Maha Sarakham. (in Thai)

Burau of Academic affairs and Educational Standards. (2008). Art Group Learning Management

Guide. Bangkok: Gurusapa Ladprao Printing House. (in Thai)

Ministry of Education. (2008) Basic Education Core Curriculum 2008. Bangkok: Agricultural Cooperative Assembly of Thailand. (in Thai)

Phakdeejit, Y. (2015). “Creating Local Lessons Subject Groups Social Studies Religion and Culture and Art Subjects”. Journal of Graduate Studies Rajabhat University. (5)9: 11-24. (in Thai)

Pichayapaiboon, P. (2018). Psychology of Art: The Empirical Aesthitics. Bangkok: Chulalongkorn University Press (Cuprint). (in Thai)

Piaget, J. (1962). “The Stage of the Interllectual Development of the Child”. Bulletin of the

Menninger Clinic 26(3): 120–128.

Sinpru, k. (2013). Image of The Hell. Master of Fine Arts Program in Visual Art Graduate School Faculty of Education Silpakorn University. (in Thai)

Swangdee, Y. (2006). “Focus Group”. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal

(2): 1-15. (in Thai)

Sripanyakorn, P. (2010). The Development of Learning Package on Sufficiency Economy for Lower Secondary School Learner. Master of Education Thesis Program in Curriculum and Instruction Graduate School Faculty of Education Silpakorn University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26