การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา หอมฟุ้ง สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อธิกมาส มากจุ้ย สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร, ศึกษาศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาภาษาไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (4 ปี)(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาหลักสูตร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยประเมินผลโดยใช้รูปแบบ CIPP Model ของแดเนียล แอล สตัฟเฟิลบีม ร่วมกับแนวคิดเรื่องเกณฑ์การประเมินหลักสูตรเกณฑ์ AUN QA กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ คณาจารย์ ผู้ใช้บัณฑิต นักศึกษาปัจจุบัน และศิษย์เก่า เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และประเด็นคำถามในการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ดังนี้ 1) ด้านสภาวะแวดล้อม มีความเหมาะสม 2) ด้านปัจจัยนำเข้า มีความเหมาะสมภาพรวมระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ และ 4) ด้านผลผลิต มีความเหมาะสมภาพรวมระดับมากที่สุด

2. แนวทางในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ 1) พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้รอบทั้งในศาสตร์ภาษาไทยและการสอนภาษาไทย ภูมิปัญญาทางภาษา 2) พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนการสอนได้อย่างสร้างสรรค์ ทันสมัย เหมาะสมกับบริบท 3) ส่งเสริมผู้เรียนด้านการวิจัย การพัฒนานวัตกรรม รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน 4) ส่งเสริมผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม

3. แนวทางการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม ออกแบบหลักสูตรให้ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน ด้านปัจจัยนำเข้า ปรับเนื้อหาของวิชาให้ทันสมัยมากขึ้น ด้านกระบวนการ ออกแบบรายวิชาที่ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และเน้นพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และด้านผลผลิต พัฒนาผู้เรียนด้านทักษะการสื่อสาร ส่งเสริมด้านคุณธรรมจริยธรรม

References

Beauchamp George, A. (1981). Curriculum Theory. Illinois: F.E. Peacock.

Buranasinvattanakul, K. (2023). The Development of Educational Board Game to Enhance Principles of Thai Word Formation Concept for Undergraduate Students. Nakhon Pathom: Faculty of Education. (in Thai)

Homfung, C. and et al. (2016). An Evaluation of Bachelor of Education Program in Thai Language Faculty of Education, Silpakorn University. Nakhon Pathom: Faculty of Education. (in Thai)

Homfung, C., Ruamsuk, S. and Makjui, A. (2023). “The Study of Research Attitudes of Graduate Students with Game Creation”. The New Viridian Journal of Arts Humanities and Social Sciences 3(1): 16-26. (in Thai)

Kongwijit, P. (2021). “Inheriting the Melodious Rhythm: Problems and Guidelines of Teaching Rhythm Reading at the Tertiary Level”. Journal of Language Religion and Culture 10(2): 202-221. (in Thai)

Laoriandee, V., Kitroongrueng, P. and Sirisamphan, O. (2017). Active Learning Strategies to Develop Thinking and Raise the Quality of Education for the 21st century. Nakhon Pathom: Phetkasem Printing Group. (in Thai)

Nillapun, M. (2011). Evaluation of the Doctor of Philosophy Program Department of Curriculum and Teaching, Faculty of Education Silpakorn University. Nakhon Pathom: Faculty of Education. (in Thai)

Office of the Education. (2017). The National education plan B.E. 2560-2579 (2017-2036). Bangkok: Office of the Education Publisher. (in Thai)

Office of the Higher Education Commission. (2015). National Qualifications Framework for Higher Education, B.E. 2015. Bangkok. (in Thai)

Patphol, M. (2019). Principle Concept of Curriculum Development. [Online]. Retrieved August 12, 2022, from http://www.curriculumandlearning.com. (in Thai)

Saylor, Alexander and Lewis. (1974). Curriculum Development Model for Islamic Education in Schools. Bandung: Sinergi Mandiri.

Self-Assessment Report : SAR AUN-QA Criteria (Bachelor's degree) Bachelor of Education Program in Thai (4 Years Curriculum)(Revised Curriculum Academic Year 2019). (2023). Nakhon Pathom: Faculty of Education Silpakorn University. (in Thai)

Taotaro, T., Boonyapithak, S. and Thamaphiban Inthanin, W. (2018). “The Curriculum Evaluation on Bachelor of Education in Measurement And Evaluation Using Criteria of Asean University Network Quality Assurance (AUN-QA) at Program Level”. AL-NUR Journal of Graduate School, Fatoni University 13(24): 149-164. (in Thai)

Taweerat, P. (1997). Behavioral and Social Science Research Methods. Bangkok: Educational and Psychological Test Bureau Srinakharinwirot University. (in Thai)

Tyler, R. W. (1968). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26