การวิเคราะห์ผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะจากผู้บกพร่องทางการได้ยิน“สุนทรียภาพแห่งโลกเงียบ”

ผู้แต่ง

  • ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล สาขาวิชาการจัดการศิลปกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
  • พรวิภา สุริยากานต์ สาขาวิชาการออกแบบทัศนศิลป์-การออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์ผลงานศิลปะ, ผู้บกพร่องทางการได้ยิน, สุนทรียภาพ, ภาพพิมพ์สีน้ำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและวิเคราะห์ผลงานการสร้างสรรค์ศิลปะในการถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์จากผู้บกพร่องทางการได้ยิน กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน ระดับอายุ 15-18 ปี โรงเรียนโสตศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3- 6 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 100 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมศิลปะภาพพิมพ์สีน้ำสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน และ แบบวิเคราะห์ผลงานศิลปะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ตีความแล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ ผลการศึกษาว่า 1) ผลการศึกษาลักษณะผลงานภาพพิมพ์สีน้ำของผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีการวาดภาพธรรมชาติเป็นจำนวนมากที่สุด (41 คน) รองลงมาเป็นภาพสิ่งของ (23 คน) และที่น้อยสุดคือ ภาพการ์ตูน (3 คน) ลักษณะโทนสีที่ใช้เป็นโทนเย็นมากกว่าโทนร้อน 2) การถ่ายทอดสุนทรียะทางทัศนศิลป์ของผู้บกพร่องทางการได้ยิน มีดังนี้ 2.1) ภาพธรรมชาติ: -ภาพแสดงออกได้ชัดเจนเกี่ยวกับรูปร่างรูปทรงที่ต้องการสื่อสารกับผู้ชม และการใช้สีมีความชัดเจนในการลงสี 2.2) ภาพสิ่งของ: -การแสดงออกเป็นภาพที่ผู้ชมสามารถรู้ได้ว่าเป็นภาพของรถยนต์ที่มีโครงสร้างชัดเจน สังเกตจากการมี ล้อ กระจก โครงรถ ซึ่งแสดงออกมาได้ดีส่วนรูปทรงของขนม สามารถถ่ายทอดของไอศครีมที่มีลักษณะเป็นโคนทรงกรวยและไอศครีมรสชาติต่างๆ ที่ชอบอยู่ด้านบน สีสันดูน่ารับประทาน 2.3) ภาพเมือง: -นักเรียนสามารถแสดงออกถึงภาพบรรยากาศของเมืองได้เป็นอย่างดี มีการจัดวางองค์ประกอบของภาพที่ตรงไปตรงมา เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับความเป็นเมืองและสถานที่ที่บ่งบอกอย่างชัดเจน 2.4) ภาพสัตว์: - ภาพมีการนำเสนออย่างตรงไปตรงมาในเรื่องของสัตว์ ไม่มีความซับซ้อนของภาพ ถึงแม้จะดูไม่มีมิติและความลึก แต่ก็สามารถสื่อสารเรื่องราวของสัตว์และบรรยากาศได้อย่างดี 2.5) ภาพคน: - เป็นการวาดคนที่แสดงหน้าตรงหรือตัวตรงเหมือนกันทุกภาพ แต่ไม่แสดงอารมณ์ความรู้สึกที่ชัดเจน ด้วยอากัปกิริยาที่ยืนตรง  และ 2.6) ภาพการ์ตูน:- สามารถสื่อสารถึงตัวการ์ตูนที่ชื่นชอบได้อย่างชัดเจน

References

Efland, A.D. (1979). “Conceptions of Teaching in Art Education”. Art Education 32(4): 22.

Ida, P.M. (2021). “Expression of Art and Visual Communication Among Special Needed Students of Visual Arts Education Subjects in Primary Schools.” Journal Pendidikan Awal Kanak-kanak Kebangsaan 10(1): 41-54.

Nimsamer, C. (2016). Composition of Art. 10th ed. Bangkok: Amarin Book Center Company Limited. (in Thai)

Nyamawero, N., Samuel Y.A and Kwame K.D. (2022). “Art Education for Learners with Special Educational Needs: Case study of Visual Artefacts Produced by Hearing-Impaired Pupils of Tetteh Ocloo State School for the Deaf”. European Journal of Special Education Research 8(2): 1-24.

Pichayapaiboon, P. (2017). Psychology of Art: The Empirical Aesthetics. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Pongprasit, D. (2021). “The Interpretation of Symbols in Visual Arts to The Development of an Artwork which Symbolises the Emotions and Feelings of Loss”. Patanasilpa Journal 5(2): 35-58. (in Thai)

Sookpatdhee, T. (2017). “The Arts Use to Build Skills for Hearing Impaired”. The Golden Teak: Humanity and Social Science Journal (GTHJ.) 23(2): 1-13. (in Thai)

Soonpongsri, K. (2017). Aesthetics. 3th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Suthiphan, A. (2000). Aesthetic Experience. Bangkok: Teachers' Council of Thailand. (in Thai)

Ua-Anant, M. (2002). Reformative Art Education: Background, Philosophy, Principles Curriculum Evolution. (2ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Yi-Huang, S. (2020). “Teaching Principles for Aesthetic Education : Cultivating Taiwanese Children’s Aesthetic Literacy”. International Journal of Education and Practice. 8(3): 568-576.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21