การประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์เพื่อพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงาน ของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • นิตยา จิตรคำ สำนักงานคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การประเมินความต้องการจำเป็น, สมรรถนะ, บุคลากรสายสนับสนุน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 2) เพื่อกำหนดสาเหตุและแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประชากรในการวิจัยในการประเมินความต้องการจำเป็น ได้แก่ บุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปีงบประมาณ 2566 จำนวน 58 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการกำหนดสาเหตุและแนวทางการพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากรได้แก่ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เลขานุการคณะศึกษาศาสตร์ รวมจำนวน 5 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุงและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

      1.ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสมรรถนะหลักของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ พบว่ามีค่าเท่ากับ .16 โดยด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ “การมุ่งผลสัมฤทธิ์” (.24) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสมรรถนะตามสายงานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะศึกษาศาสตร์ พบว่ามีค่าเท่ากับ .16 โดยด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” (.19)

       2. สาเหตุที่สมรรถนะหลัก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นมีค่าสูงสุดเกิดจาก แนวทางการบริหารงานของมหาวิทยาลัยและของคณะศึกษาศาสตร์ที่ผ่านมาอยู่ภายใต้แนวคิด EdPEx มีการมุ่งเน้นและกล่าวถึงการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์บ่อยครั้ง รวมทั้งกล่าวถึงการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน และสาเหตุที่สมรรถนะตามสายงาน ด้านการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางการพัฒนาและการบริหารของผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัยและผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ที่ต้องคำนึงถึงทิศทางการพัฒนาประเทศ ทำให้บุคลากรสายสนับสนุนต้องรับเป้าหมายและแนวทางที่ปรับเปลี่ยนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะหลัก ด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ ผู้บริหารคณะจะต้องมีความเข้าใจแนวทางการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์  พร้อมสนับสนุนการบริหารงานตามแนวทางการบริหารและการทำงานที่สร้างวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมการทำงานที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานด้านการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ควรมีการกำหนดให้ “การเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง” เป็นค่านิยมองค์กร ควบคู่ไปกับแนวคิดแบบ Growth Mindset

References

Kongprasom, E., Vongprasert, C. and Chaopanon, W. (2011). “Core Competency for Supporting Staff Driving Silpakorn University Strategies on Learning Organization”. KKU Research Journal (Graduate Studies) (11): 111-122. (in Thai)

Peesara, T. (2019). “The Training Programs Development of Core Competency Enhancement of Academic Staffs in North-Eastern Rajabhat University Group”. NRRU Community Research Journal (13): 137-149. (in Thai)

Silpakorn University. (2023). Philosophy, Resolution, Vision. [Online]. Retrieved November 15, 2023, from www.su.ac.th/th/about-mission-vision.php. (in Thai)

Strategy and Planning Division Department of Mental Health. (2023). Achievement Motivation. [Online]. Retrieved November 15, 2023, from http://www.netlibrary.com.

Wongwanich, S. (2005). Needs Assessment Research. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Yatirattanakanya, S. and Tiacharoen, S. (2016). “Organizational Culture and Core Competency of Supporting Staff’s Performance in Office of the President, Kasetsart University”. Journal of Educational Administration Silpakorn University 7(1): 134–144.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-21