การประเมินความต้องการจำเป็นของครูต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี
คำสำคัญ:
การประเมินความต้องการจำเป็น, การบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษkมัธยมศึกษาปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร และครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 338 คน ซึ่งได้จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามแนวคิดของ Taro Yamane และใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi - Stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60 - 1.00 และแบบสอบถามการรับรู้สภาพที่เป็นอยู่จริงมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 แบบสอบถามการรับรู้สภาพที่คาดหวังมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสภาพที่เป็นอยู่จริงของครูต่อการบริหารจัดการเรียนการสอนออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x= 3.56, S.D. = 0.78) และข้อมูลสภาพที่คาดหวังของครูที่มีต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x= 4.77, S.D. = 1.04) ครูมีความต้องการจำเป็นต่อการบริหารการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการออกแบบการเรียนรู้และหลักสูตร ด้านการสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการบริหารการจัดการเรียนการสอน ด้านการรับฟังปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
References
Fakcharoenphol, V., et al. (2020). “Readiness to Implement Online Learning Management under the Covid-19 Pandemics”. Journal of Education and Human Development Sciences 4(1): 44-61. (in Thai).
Mathuros, S. (2021). “Management Education Online in the NEW NORMAL COVID-19”. Rajapark Journal 15(40): 33-42. (in Thai).
Office of the Basic Education Commission (OBEC). (2023). Education Digital. [Online]. Retrieved July 15, 2023, from https://www.postto day.com/social/general/628541. (in Thai)
Panto, P. (2021). Organizing Teaching and Learning in Thailand under the Situation of the Spread of Infectious Diseases Coronavirus 2019 (COVID–19). [Online]. Retrieved May 17, 2021, from https://library.parliament.go.th/sites/default/ files/works/academic. (in Thai).
Wantaywin, T. (2024). Needs Assessment for Improving the Management on Enrichment Science Program Under the Secondary Educational Service Area Office Bangkok. Master of Science in Industrial Education Program in Educational Administration School of Industrial Education and Technology King Mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang. (in Thai).
Pangthon, P. (2023). “Guidelines for Learning Management in the Situation of the Outbreak of Coronavirus 2019 for Primary Schools Under the Office of Basic Education Mae Sai District Chiang Rai Province”. Journal of Education and Human Development Sciences 4(1): 74-86 (in Thai).
Podapol, C. (2021). “Education 4.0: Educational Paradigm Towards Future”. Srilangchang Research Journal. 1(1): 43-53. (in Thai).
Wongwanich, S. (2020). Need Assessment Research is Necessary. Bangkok: Publishing House of Chulalongkorn University. (in Thai)
Wongwanich, S. (2023). Need Assessment Research is Necessary 4th ed. Bangkok: Publishing House of Chulalongkorn University.
(in Thai)
Yamane, T. (1999). Statistics an Introductory Analysis. New York: Harper and Row.