การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคต ของนักศึกษาจิตวิทยาโครงการพิเศษ ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
คำสำคัญ:
กิจกรรมส่งเสริม, คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคต, นักศึกษาจิตวิทยาโครงการพิเศษบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคตของนักศึกษาจิตวิทยาโครงการพิเศษ เพื่อพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคตของนักศึกษาจิตวิทยา และเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคตของนักศึกษาจิตวิทยา การวิจัยและพัฒนา กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มของการศึกษา ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4 จำนวน 35 คนที่สมัครใจเข้าร่วมการวิจัย และศิษย์เก่าซึ่งเป็นนักจิตวิทยาประจำหน่วยงานจำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจงที่พร้อมให้ข้อมูลโดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประสิทธิผลและประเมินกิจกรรมการเรียนรู้ สรุปผลการวิจัยคือ 1) ลักษณะการทำงานของนักจิตวิทยาสามารถใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานในหน่วยงานของโรงพยาบาล ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศาลยุติธรรม และฝ่ายจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรได้ 2) การพัฒนากิจกรรมฯ ประกอบด้วย ขั้นตอนก่อนดำเนินกิจกรรมการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตฯ และ ขั้นตอนดำเนินการจัดกิจกรรมตามแผนกิจกรรม 6 แผนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ด้านทักษะสำหรับพลเมืองอนาคต ประกอบด้วยทักษะสำคัญ 4 ประการ คือ ทักษะการคิด ทักษะการทำงานและการเรียนรู้ ทักษะการบริหาร และทักษะความเป็นผู้ประกอบการ 3) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายด้านของคะแนน หลังการใช้กิจกรรมฯ พบว่ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้น ซึ่งมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้กิจกรรมเท่ากับ 3.89 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77 และคะแนนเฉลี่ยหลังการใช้กิจกรรมเท่ากับ 4.23 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66
References
American Psychology Association. (2011, 1 December). Careers in Psychology. Accessed November 23. https://www.apa.org/careers/resources/guides/careers.
Chaisen, C. (2020). The Study Entitled “21st Century Skills of Suranaree University of Technology (SUT) Students” in Academic Year 2019. Suranaree University of Technology Institute Research Report Nakhon Ratchasima. (in Thai)
Phuttasorn, E. (2014). TRENDS IN ENHANCEMENT OF21STCENTURY LEARNING SKILLSFOR ADULT LEARNERS Field of Study: Non-Formal Education. Department of Lifelong Education. Faculty of Education: Chulalongkorn University. (in Thai)
Eysenck, H.J. (1972). Psychology is about People. London: Cox and Wyman Ltd.
Meepradit, K. (2019). Graduate Characteristics in the 21st Century and General Education Subjects. MeetingNational and International Academics Sripatum University. (in Thai)
Milaehman, N., Leksoo, N,. Mekdaeng, C., and Jindawat, W. (2020) OPERATING STUDENT ACTIVITIES TO DEVELOP DESIRABLE CHARACTERISTICS OF THAI GRADUATES. Suvarnabhumi Institute of Technology Academic Journal, 6(2), 559-567.
Office of the Higher Education Commission Ministry of Education. (2009). Announcement of the Higher Education Commission on Guidelines for Compliance with the National Higher Education Qualifications Framework 2009, Bangkok : Office of the Higher Education Commission. (in Thai)
Rakcheep, P. (2023, 25 May). School Psychologist Work Manual Educational Service Area Office Phang Nga Primary School. https://www.phangngaedarea. go.th/site/wpcontent/uploads/ manualpromoteeducation/pr6.pdf.
Wongthong, P. (2021). Behavior Indicating the 4Cs Skills. Necessary for Students in the 20th Century 21: Concise Literature Review. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi, 15(2).
Wonganutaroj, P. (2005). Industrial Psychology. Bangkok. Pimdee Company Limited. (in Thai)
Phuengphong, S., Saengchan, P., and Kintharak, S. (2021, 3 August). American Psychological Association’s Ethical Principles of Psychologists and Code of Conduct With the 2016 Amendment to Standard 3.04. http://thaiclinicpsy.org/new/index.php/?option=com _ content&view=article&id=592).
Wongkumsin, T. (2018). Development of the Desirable Psychological Characteristics of the Students Major in Psychology at Kasetsart University by Group Counseling Program. Journal of Social Sciences And the, 44(1), 70-102.