การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program เพื่อเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ชินวัฒน์ วาสนาเรืองสุทธิ สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • กอบสุข คงมนัส ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

หลักสูตรฝึกอบรม, ความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล, แนวคิด Cyber Friendly School Program

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมฯ 2) เพื่อทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมฯ 3) เพื่อประเมินความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมฯ ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา มีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 35 คน ที่ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หลักสูตรฝึกอบรมตามแนวคิด Cyber Friendly School Program  แบบทดสอบวัดความรู้ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program  แบบประเมินตนเองด้านความเห็นอกเห็นใจในโลกดิจิทัล และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test (dependent) ผลการวิจัย พบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรม มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย คำอธิบายรายวิชา โครงสร้างหลักสูตรฝึกอบรมและสาระการเรียนรู้ แนวการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แนวทางการวัดและประเมินผล และสื่อการเรียนรู้ และมีความเหมาะสมอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด ( = 4.66, S.D. = 0.42) ผลการทดลองนำร่องหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรม
มีความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติจริง 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฝึกอบรมมีความรู้
ตามแนวคิด Cyber Friendly School Program หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และนักเรียนมีความเห็นอกเห็นใจ
ในโลกดิจิทัลอยู่ในระดับมาก ( = 3.96) 3) ความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีความพึงพอใจในอยู่ระดับมาก ( = 4.37)

References

Cross, D., Shaw, T., Hadwen, K., Cardoso, P., Slee, P., Roberts, C., Thomas, L., and Barnes, A. (2016, November 21). Longitudinal Impact of the Cyber Friendly Schools Program on Adolescents’ Cyberbullying Behavior.https://www.researchgate.net

eSafety Commissioner. (2023, August 3). Cyberbullying : Factsheet. https://www.esafety .gov.au /educators/training-for-professionals/professional-learning-programteachers/cyberbullying-factsheet

Navanalin, N. (2021). The Development of Problem Solving Abilies about Cyberbullying by Learning Activities based on Problem-Based Learning of Eighth Grade Students. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University, 12(4), 95-106. (in Thai)

Office of the Basic Education Commission. (2023,January 21). Prevention Guidelines Stop Bullying in Schools. https://drive.google.com/file/d/11FrRmIgO0ZNAhbxwrGL.

Ortega-Ruiz, R., Del Rey, R., and A. Casas, S. (2012). Knowing, Building and Living Together on Internet and Social Networks : The ConRed Cyberbullying Prevention Program. International Journal of Conflict and Violence. https://www.ijcv.org/index. php/ ijcv/ article/ view/2921/pdf_67

Srisa-ard, B. (2010). Principles of Research. (5th ed.). Bangkok: Surivitayasarn. (in Thai)

Wongsupa, Y., and Thamrongsotthisakul, W. (2022). Online Learning Development of Phenomenon - Based Learning and Reflective Thinking to Develop Empathy in Cyberbullying for Grade 12 Students. Silpakorn Educational Research Journal, 14(2), 427-445. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27