การพัฒนารูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับ การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอด และความตระหนักทางวัฒนธรรมสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • วรกร ธรรมภิบาลอุดม สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ชลธิชา หอมฟุ้ง ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อุบลวรรณ ส่งเสริม ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนคติชนวิทยา, ชุมชนเป็นฐาน, การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง, ความคิดรวบยอด, ความตระหนักทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรม 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรม 3) ขยายผลการใช้รูปแบบการสอนคติชนวิทยาโดยการประยุกต์ใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามสภาพปัญหาการเรียนการสอนคติชนวิทยาแบบวิเคราะห์เอกสารข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนคติชนวิทยา ประเด็นคำถามสำหรับอภิปรายกลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) รูปแบบการสอนคติชนวิทยา แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถด้านความคิดรวบยอด และแบบวัดความตระหนักทางวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบการสอนมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการวัตถุประสงค์กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดประเมินผล และปัจจัยสนับสนุนการนำรูปแบบการสอนไปใช้ กระบวนการสอนมี 7 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) วิเคราะห์ตัวตน (2) เสนอผลควรรู้ (3) ลงสู่ชุมชน (4) เก็บผลข้อมูลภาคสนาม (5) เล่าความสร้างสรรค์ (6) แบ่งปันสรุปองค์ความรู้ และ (7) นำสู่การต่อยอดทางวัฒนธรรม ผลการตรวจสอบคุณภาพคือรูปแบบการสอนสามารถนำไปใช้ได้จริง 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการสอน พบว่า นักศึกษามีความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรมสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) ผลการนำรูปแบบการสอนไปขยายผล พบว่า นักศึกษามีความสามารถด้านความคิดรวบยอดและความตระหนักทางวัฒนธรรมสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนด้วยรูปแบบการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

Bacote, C. (1999). A Model and Instrument for Addressing Culturalcompetence in Health Care. Journal of Nursing Education, 38(5), 203-206.

Chanchaemsai, M. (2015).Project to Remove the Community-based Learning Management Experience Set : Case Study: Integrating Learning in Architectural Design with Residential Development for PeopleHave Low Income (Baan Mankong Project, Rama 9 Community, Bo 3). Phranakhon Rajabhat Research Journal, 10(1),143-156. (in Thai)

Duffy. , and Cunningham. (1996). Self-Instruction in Language Learning. Cambridge : Cambridge University Press.

Homfung, C., and Ruamsuk, S.(2016).Teaching Folklore and Developing Skills in the 21st Century of Students and Strengthening Pride in Thai Wisdom. Veridian E-Journal Silpakorn University Humanities Department Social Sciences and Arts, 9(2), 1549-1563. (in Thai)

Joyce, B., and Well, M. (1996). Models of Teaching. (2nd ed.). New Delhi: Prentice–Hall.

Melaville, A., Berg, A., C., and Blank, M, J. (2 0 1 5, June 15). Community-based Learning : Engaging Students for Success and Citizenship. http://digitalcommons.unomaha.edu/ slcepartnerships/40.

NaThalang, S. (2014). Folklore Theory and Methodology in the Analysis of Legends and Folktales. Samnak Printed by Chulalongkorn University. (in Thai)

Novak, J.D., and Gowin,D.B. (1987). Learning How to Learn. London : Cambridge University Press.

Nugent, K. (2015). Critical Cultural Awareness in The Foreign Language Classroom. University of Nebraska – Lincoln.

Owens, T. R., and Wang, C. (1 9 9 6). Community-Based Learning : A Foundation for Meaningful Educational Reform. University of Nebraska Omaha.

Penglun, P. (2020). Developing Awareness of Different Cultures of English Language Learners. [Doctoral dissertation, University of Phayao]. (in Thai)

Ponsri, S. (2007). Networked Learning in Community Development. (2nded.). Printing Odeon Store. (in Thai)

Schwab, K. (2015). The Global Competitiveness Report 2015–2016. University of Nebraska – Lincoln.

Srikanok, W. (2018). Learning Management using Concepts as a Basis Learning by Using Concept Based Instruction. Army Nursing Journal Royal Thai Army Nursing College, 19(3), 10-17. (in Thai)

Sunthornvisai, S., and Photiwan, P. (2021). Development of Community-based Learning Activities Oncultural Preservation and Thai Wisdom Mathayom 3 Level. Journal of EducationMaha Sarakham Rajabhat University, 18(3). (in Thai)

Wongyai, W., and Phatphon, M. (2019). Learning Management to Enhance Conceptual Thinking. Center for Curriculum and Learning Innovation Leadership. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-06