การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ

ผู้แต่ง

  • มาเรียม นิลพันธุ์

คำสำคัญ:

การประเมินหลักสูตร / ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

บทคัดย่อ

การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อประเมินบริบทของหลักสูตรในด้านวัตถุประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร และรายวิชา 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของหลักสูตรในด้านสื่อที่ใช้ใน การจัดการเรียนรู้ สภาพห้องเรียน จำนวนอาจารย์ และสิ่งอำนวยความสะดวก 3) เพื่อประเมิน กระบวนการของหลักสูตรในด้านการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ การฝึก ปฏิบัติการ การบริหารจัดการหลักสูตร และกระบวนการทำวิทยานิพนธ์ 4) เพื่อประเมินผลผลิตของ หลักสูตรในด้านความรู้ความเข้าใจ ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตร การออกแบบการสอน และ การนิเทศ ความสามารถในการวิจัย และการมีคุณธรรม และ 5) เพื่อประเมินผลกระทบของหลักสูตร ในด้านความสามารถในการประยุกต์ใช้เพื่อการปฏิบัติงาน การพัฒนาวิชาชีพ ความเป็นผู้นำ สมรรถนะ ในด้านหลักสูตรการสอน และการนิเทศ โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPI Model ของ Danial L. Stufflebeam กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย อาจารย์ผู้สอนในรายวิชา จำนวน 15 คน นักศึกษาปัจจุบัน จำนวน 110 คน มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จำนวน 95 คน และผู้ใช้บัณฑิต จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านบริบทหลักสูตร พบว่ารายวิชาต่างๆ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเห็นว่าควร มีการปรับปรุงรายวิชาพื้นฐาน รายวิชาบังคับ และรายวิชาเลือก รายวิชาที่มีความเหมาะสมมาก คือ รายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ และเห็นว่ารายวิชาได้ส่งเสริมให้ นักศึกษามีความสามารถในการพัฒนาและการวิจัยทางหลักสูตรและการนิเทศ มีทักษะกระบวนการคิด ขั้นสูง มีพัฒนาทางเชาวน์อารมณ์ (EQ) ทำให้ผู้เรียนตระหนักในความสำคัญทางวัฒนธรรมทั้งระดับ ท้องถิ่นและระดับสากล ควรเพิ่มเวลาเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำวิทยานิพนธ์ เทคนิคและ รูปแบบการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อและเทคโนโลยี นวัตกรรมการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตร และเปิดวิชาเลือกเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับหลักสูตรการสอน หรือการนิเทศที่ระบุเฉพาะเรื่องหรือ ระดับชั้นเรียน การจัดโครงสร้างของหลักสูตร และโครงสร้างรายวิชามีความเหมาะสมและสอดคล้องกัน ควรมีการปรับปรุงให้เน้นการฝึกปฏิบัติ และให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหลักสูตรได้ 2. ด้านปัจจัยนำเข้าพบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก มีทรัพยากรการเรียนรู้ที่ตรง กับความต้องการของผู้เรียน มีความสะดวกในการเลือกใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อนำมา ประกอบการเรียนรู้ในห้องเรียน สภาพห้องเรียนมีสื่อและวัสดุที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย มี บุคลากรภายนอก (วิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ) เข้ามาร่วมในการพัฒนาความรู้และกระบวนการคิด และมี หน่วยงานองค์กรจากภายนอกให้การสนับสนุนในการจัดการเรียนรู้ 3. ด้านกระบวนการ พบว่า การจัดการเรียนรู้ โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยมี ความคิดเห็นว่า นักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนได้รับคำแนะนำ และความช่วยเหลือจากอาจารย์ สาขาวิชามีบรรยากาศเรียนรู้แบบร่วมมือกัน มีการจัดการเรียนรู้ที่ดี เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในประเด็นที่สำคัญ ทั้งเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล ได้รับการกระตุ้นให้กล้า ซักถามเพื่อพัฒนาความรู้ในชั้นเรียน อาจารย์และนักศึกษามีปฏิสัมพันธ์ มีการปฏิบัติการวิจัยทางด้าน หลักสูตรและการนิเทศที่เน้นการนำทรัพยากรท้องถิ่นมาพัฒนาหลักสูตร ด้านการวัดและการประเมินผล การจัดการเรียนรู้ พบว่า โดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นว่าการประเมิน กระบวนการเรียนรู้มีตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนในการประเมิน และมีการประเมินความก้าวหน้าและพัฒนาการ 4. ด้านผลผลิตโดยภาพรวมและรายข้อ อยู่ในระดับมากที่สุด คือมีความรู้ความเข้าใจและ เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการนิเทศ มีความสามารถในการปฏิบัติงานเป็นศึกษานิเทศก์ นักพัฒนา หลักสูตร ฝ่ายวิชาการของสถานศึกษา ผู้สอนมีคุณธรรมในวิชาชีพ มีความสามารถในการศึกษา ค้นคว้าวิจัยด้านการศึกษาหลักสูตรและการนิเทศ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาหลักสูตร ประเภทต่างๆ ทั้งหลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรสถานศึกษา หลักสูตรระดับท้องถิ่น และสามารถนำ เทคนิควิธีสอนใหม่ๆไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและร่วมมือกันเรียนรู้มีคุณธรรม ในวิชาชีพ 5. ด้านผลกระทบ พบว่าโดยภาพรวมและรายข้ออยู่ในระดับมาก สามารถนำความรู้และ ประสบการณ์ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงาน ประสบการณ์การทำวิทยานิพนธ์ช่วยพัฒนาความสามารถ ในการปฏิบัติงาน และวิชาชีพของตนเอง การนำความรู้ที่ได้ในระหว่างเรียนไปปฏิบัติงานได้อย่าง ต่อเนื่อง และมีความสามารถในการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีทางด้านหลักสูตรและการนิเทศไปพัฒนา ผู้เรียน มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและกลุ่ม สามารถในการวางแผนและการจัดการ มีภาวะ ความเป็นผู้นำทางด้านวิชาการ มีการพัฒนาทักษะการสื่อสาร และเป็นผู้นำการใช้นวัตกรรมและ เทคโนโลยี ส่วนความคิดเห็นอื่นๆ พบว่ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากและเกี่ยวกับประโยชน์ที่ได้จาก การศึกษา มีความภาคภูมิใจในสาขาวิชาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำ ความรู้ไปถ่ายทอดและขยายผลให้ผู้อื่นได้

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย