ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • นครชาติ เผื่อนปฐม
  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ / ผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนา ระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 2) ระดับ ผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และ3) ยุทธศาสตร์การ พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัด กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 333 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลแต่ละแห่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล 1 คน และพยาบาลวิชาชีพหรือนักวิชาการสาธารณสุขหรือเจ้าพนักงาน สาธารณสุขชุมชน 1 คน รวมทั้งสิ้น 666 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวง สาธารณสุข และผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตามเป้าประสงค์ของแผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2550-2554) ของกระทรวงสาธารณสุข สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. การปฏิบัติตามยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิของโรงพยาบาลส่งเสริม สุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทั้งโดยภาพรวมและรายยุทธศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับ มาก 2. ผลสัมฤทธิ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดย ภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านส่วนใหญ่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ยกเว้นด้านหน่วยบริการปฐมภูมิมีบุคลากรที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง 3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในภาพรวมส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในภาพรวม

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย