การใช้สุนทรียสนทนาเพื่อพัฒนาความสามารถในการตั้งคำถามของนักศึกษา ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ผู้แต่ง

  • วิสูตร โพธิ์เงิน

คำสำคัญ:

สุนทรียสนทนา/ การตั้งคำถาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ จะเป็นการทดลองการใช้สุนทรียสนทนาพัฒนาการตั้งคำถามของนักศึกษา เป็น การทดลองแบบวิจัยเบื้องต้น (Pre Experimental Designs) One Group Pretest–Posttest Designs มี วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาความสามารถในการตั้งคำถามของนักศึกษาโดยใช้วิธีสุนทรียสนทนา และ ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการสอนโดยใช้สุนทรียสนทนา เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคสุนทรียสนทนา เรื่อง “การตั้งคำถามในการจัดการเรียนการ สอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา” จำนวน 4 แผนการเรียนรู้ 2) แบบประเมินระดับความสามารถในการ ตั้งคำถาม 6 ระดับในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาตามแนวความคิดพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) ของ Benjamin Bloom และ3) แบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาในการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค สุนทรียสนทนา กลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 35 คน ที่ลงทะเบียนรายวิชา 471402 การสอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2554 ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบความถี่ของการตั้งคำถาม 6 ระดับก่อนและหลังการจัดการการจัดการเรียน การสอนโดยใช้วิธีสุนทรียสนทนาของนักศึกษา พบว่า หลังการจัดการใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา 471 402 การสอนสังคมศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนความถี่ของข้อคำถามสูงกว่าก่อนใช้กระบวนการสุนทรียสนทนาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยที่การตั้งคำถามเมื่อเทียบรายข้อ การตั้งคำถามประเมินค่า มีค่าความถี่สูงที่สุด คิดเป็นร้อยละ 74.40 รองลงมาคือ คำถามการนำไปใช้ คิดเป็นร้อยละ 59.45 และคำถามการคิดสร้างสรรค์คิดเป็นร้อยละ 57.15 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบคะแนนของการตั้งคำถาม 6 ระดับของนักศึกษา หลังการจัดการเรียนการสอนใช้ กระบวนการสุนทรียสนทนาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา 471 402 การสอนสังคมศึกษา ระดับประถมศึกษาสูงกว่าก่อนใช้กระบวนการสุนทรียสนทนา ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีต่อการสอนโดยใช้สุนทรียสนทนา นักศึกษามีความคิดเห็นการสอนโดยวิธีสุนทรียสนทนาเปิดมุมมองให้กว้างขึ้นมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (μ =4.68, = 0.47) รองลงคือ การสอนโดยวิธีสุนทรียสนทนาเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้อื่น (μ =4.48, = 0.63) และการสอนโดยวิธีสุนทรียสนทนาทำให้นักศึกษารู้สึกเข้าใจคนอื่นมากขึ้น (μ =4.46, = 0.5) ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การสอนโดยวิธีสุนทรียสนทนา เป็นกระบวนการที่น่าเบื่อ/ไม่น่าสนใจ (μ =1.86, = 0.87)

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย