การพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ดนตรีจีนชุมชนบางหลวง ผู้แต่ง อนิรุทธ์ สติมั่น สมหญิง เจริญจิตรกรรม เอกนฤน บางท่าไม้ น้ำมนต์ เรืองฤทธิ์ คำสำคัญ: มัลติมีเดีย/ ดนตรีจีน/ สื่อเพื่อการเรียนรู้/ เทคโนโลยีการศึกษา บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับดนตรีจีน ของชุมชนบางหลวง 2) เพื่อสร้างและพัฒนาสื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยสื่อมัลติมีเดีย เรื่อง ดนตรีจีนของ ชุมชนบางหลวง และ 4) เพื่อศึกษาความคิดห็นของผู้ใช้สื่อมัลติมีเดียเรื่อง ดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาบริบทและภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ประธานชุมชน ประธานวัฒนธรรม ผู้ใหญ่ บ้านที่มีความคุ้นเคยในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านด้านดนตรีจีน ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ในการสอนดนตรี จีนในชุมชนบางหลวง และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองสื่อได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเจี้ยนหัว อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม จำนวน 32 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบยกชั้น (Cluster Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนบางหลวงเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนที่อพยพมาตั้งรกรากอยู่ ณ ตำบลบางหลวงเมื่อ 100 กว่าปีที่ผ่านมา วัฒนธรรมการเล่นดนตรีจีนนำมาจากประเทศจีน, การเล่นดนตรี เกิดขึ้นในช่วงเวลาว่างจากการทำงาน เป็นการรวมกลุ่มของสมาชิกในชุมชนกลางตลาด รูปแบบวิธีการถ่ายทอด และการเล่นเป็นการเล่นสืบทอดต่อกันมา เครื่องดนตรีที่ใช้เล่นดนตรี ประกอบด้วย ขลุ่ย ซอ ล้อ มีการรวมตัวกันจัดตั้งวงดนตรีจีน ชื่อคณะรวมมิตรบางหลวง โน้ตที่ใช้ในการสอนและการถ่ายทอดเป็น โน้ตจีนโบราณโดยนำต้นแบบมาจากประเทศจีน 2) สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนรู้ เรื่อง ดนตรีจีนของชุมชน บางหลวงที่ผ่านการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านมัลติมีเดียมีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.50 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.29 และโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหามีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.36 และประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียเพื่อ การเรียนรู้ เรื่อง ดนตรีจีนของชุมชนบางหลวง มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.14/80.06 ซึ่งผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยสื่อมัลติมีเดียพบว่าคะแนนหลังการเรียนรู้ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อ มัลติมีเดียอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 Downloads PDF ฉบับ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2013): January - June 2013 บท บทความวิจัย