การพัฒนาหลักสูตรการฝึกประสบการณ์งานอุตสาหกรรม ของนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

ผู้แต่ง

  • เทพนารินทร์ ประพันธ์พัฒน์
  • สุเทพ อ่วมเจริญ

คำสำคัญ:

การฝึกประสบการณ์งานอุตสาหกรรม/ สาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ/หลักทฤษฎี TECA

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหลักสูตรการฝึกประสบการณ์งานอุตสาหกรรมของนักศึกษา สาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิธีการดำเนินการเป็นการวิจัยและพัฒนา ประชากรคือนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ปีการศึกษา 2553 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ได้นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล สุวรรณภูมิเป็นกลุ่มตัวอย่างในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม 2) แบบสัมภาษณ์ และ 3)หลักสูตรฝึกอบรม วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยใช้ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1.การฝึกประสบการณ์ควรมุ่งเน้น 1) ด้านการทบทวนทฤษฎีและปฎิบัติ 2) ด้าน บุคลิกภาพ และมนุษย์สัมพันธ์ และ3) ด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา 2. การวิจัยครั้งนี้ใช้หลักทฤษฎี การพัฒนาหลักสูตรแบบการออกแบบย้อนกลับและการประเมินหลักสูตรอาชีวศึกษา (TECA) โดยการแบ่ง เนื้อหาของหลักสูตรออกมาเป็น 11 หน่วย ใช้เวลา 270 ชม. 3. นำหลักสูตรไปทดลองใช้กับนักศึกษา จำนวน 14 คน ได้ระดับคะแนนเฉลี่ย 2.67 ผลการประเมินตามจุดประสงค์ทั้ง 3 ด้านพบว่ามีระดับ ความสำคัญในระดับมาก ซึ่งได้แก่ด้านบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์ของนักศึกษา ค่าเฉลี่ย (X = 4.34, S.D = 0.35) รองลงมาคือด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่าเฉลี่ย (X = 4.30, S.D. = 0.23) และด้านทบทวน ทฤษฎีและปฎิบัติ ค่าเฉลี่ย (X = 4.26, S.D. = 0.25) ตามลำดับ 4. ค่าประสิทธิภาพเฉลี่ยของหลักสูตร 1) ด้านทบทวนทฤษฎีและปฏิบัติเท่ากับ 85.20 2) ด้านบุคลิกภาพและมนุษย์สัมพันธ์เท่ากับ 86.80 และ 3) ด้านคุณธรรม จริยธรรมเท่ากับ 86.00 สรุปหลักสูตรมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย