การพัฒนาสื่อการศึกษาโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้แต่ง ทศพร เชื้อปรางค์ อนิรุทธ์ สติมั่น คำสำคัญ: การพัฒนาสื่อการศึกษา/ ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้าน บทคัดย่อ งานค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research- PAR) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนาสื่อการศึกษาโดยการมีส่วนร่วม 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการ ศึกษาจากสื่อการศึกษาที่พัฒนาโดยกระบวนการมีส่วนร่วม 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการศึกษาที่ พัฒนาขึ้น ผลการวิจัยพบว่า บุคคล 3 กลุ่ม คือ ผู้วิจัย ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและเกษตรกรตัวอย่าง มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการวิจัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาสื่อเกษตร 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยค่าเฉลี่ยคะแนนจากการศึกษาสื่อ พบว่า หลังศึกษาสื่อสูงกว่าก่อนศึกษา สื่อเกษตร 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จน (ก่อน Χ = 13.32, S.D. = 1.92 หลัง Χ = 18.08, S.D. = 1.34 ) และ จากการคำนวณค่า t พบว่า มีค่ามากกว่า (t = 27.70) กล่าวคือ คะแนนหลังการศึกษาสื่อเกษตร 1 ไร่ ไม่ยาก ไม่จนสูงกว่าก่อนศึกษาสื่อ ความพึงพอใจของผู้ศึกษาสื่ออยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม ( Χ = 3.93, S.D. = 0.27) Downloads PDF ฉบับ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2013): January - June 2013 บท บทความวิจัย