แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อรักษาอัตลักษณ์ชาวเลมอแกน ผู้แต่ง สมเกียรติ สัจจารักษ์ คีรีบูน จงวุฒิเวศย์ คำสำคัญ: แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้/ อัตลักษณ์/ ชาวเลมอแกน บทคัดย่อ การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์และการดำรงอยู่ 2) การสืบทอด อัตลักษณ์ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ในการรักษาอัตลักษณ์ชาวเลมอแกน ประชากรที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มชาวเลมอแกน จังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต จำนวน 1,274 คน 2) กลุ่ม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนาชาวเลมอแกน จำนวน 39 คน และ 3) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน รวบรวม ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ และสังเคราะห์เอกสาร สำรวจชุมชน สังเกต สนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า อัตลักษณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต คือ การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย วิถีชีวิต สังคม และความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชาวเลมอแกนด้วยกันและกลุ่มชนอื่นๆ รวมทั้งวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหาร การกิน ส่วนอัตลักษณ์ด้านการประกอบอาชีพและการทำมาหากิน วัฒนธรรมภาษา ศิลปะ ความเชื่อ พิธีกรรม และระเบียบประเพณีนั้นกำลังอยู่ในสภาวะที่ใกล้จะสูญหาย ด้านการสืบทอดอัตลักษณ์ ใช้วิธีการทำให้ดู ฝึกให้ทำตาม ชี้แนะ พูดคุยบอกเล่ากันเป็นภาษามอแกน ไม่มีการจดบันทึกความรู้ใดๆ เป็นลายลักษณ์อักษร ความเชื่อและพิธีกรรมถ่ายทอดผ่านผู้นำพิธีกรรม หรือ โต๊ะหมอ และผู้อาวุโส ส่วนแนวทางการส่งเสริม การเรียนรู้เพื่อรักษาอัตลักษณ์ชาวเลมอแกนที่เหมาะสมควร คือ 1) ศึกษาเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐาน 2) ร่วมงานกัน หลากหลายฝ่าย 3) มากมายด้วยกิจกรรม 4) ทำเชิงบูรณาการ และ 5) ประสานเพื่อให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง Downloads PDF ฉบับ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (2013): January - June 2013 บท บทความวิจัย