การศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยการจัดกิจกรรมการละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัย
คำสำคัญ:
การละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัย / พัฒนาการเด็กปฐมวัย / มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพัฒนาการของเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์โดยผ่านกิจกรรมการละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัย 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยกับการจัดกิจกรรมการละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชาย – หญิง อายุ 4 -5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนวัดไผ่สามเกาะ (ปัญญาประชาสามัคคี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 จำนวน 10 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่คืนใช้เวลาจัดประสบการณ์ 12 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 30 นาที เครื่องมืองานวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นของไทยสำหรับเด็กปฐมวัย 2) แบบสังเกตพัฒนาการเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 การวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมการละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัยสามารถส่งเสริมพัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยตามมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้ในระดับร้อยละ 51.85 (8 มาตรฐาน 14 ตัวบ่งชี้) 2) พัฒนาการตามมาตรฐานคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กปฐมวัยกับการจัดกิจกรรมการละเล่นไทยสำหรับเด็กปฐมวัยมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01