การพัฒนาสมรรถนะ ตัวชี้วัดสมรรถนะบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย

ผู้แต่ง

  • รัตตินันท์ ฏิระวณิชย์กุล
  • มาเรียม นิลพันธุ์

คำสำคัญ:

สมรรถนะนักแก้ไขการได้ยิน/ ตัวชี้วัดสมรรถนะ / สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาสมรรถนะ ตัวชี้วัดสมรรถนะบัณฑิต สาขาวิชาความผิดปกติของการสื่อความหมาย เป็นการวิจัยและพัฒนาร่วมกับวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักแก้ไขการได้ยินและผู้บังคับบัญชา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะนักแก้ไขการได้ยิน และแบบประเมินสมรรถนะนักแก้ไขการได้ยินสำหรับผู้บังคับบัญชา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Independent t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะ ตัวชี้วัดสมรรถนะบัณฑิตจำแนกได้เป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) สมรรถนะหลัก 6 องค์ประกอบ 68 ตัวชี้วัด และ 2) สมรรถนะวิชาชีพ 4 องค์ประกอบ 144 ตัวชี้วัด ค่าเฉลี่ยความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 4.44 – 5.00 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานระหว่าง 0.00 – 0.72 มีความตรงเชิงสภาพ ผลการประเมินด้านความเป็นไปได้ ถูกต้อง เป็นประโยชน์และเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก สามารถนำมาจัดทำเป็นต้นแบบสมรรถนะ ตัวชี้วัดสมรรถนะนักแก้ไขการได้ยินและเป็นประโยชน์ในการประเมินตนเองและเป็นเครื่องมือในการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป

เผยแพร่แล้ว

2015-09-24