รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครูด้านการจัดประสบการณ์ ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

เกษศิรินทร์ ศรีสัมฤทธิ์
มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) พัฒนาและตรวจสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ  เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพครู ด้านการจัดประสบการณ์ ที่ส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย  2) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบ และผลการขยายผลรูปแบบ  ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับวิจัยแบบผสมผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนปฐมวัย  ผู้บริหาร และเด็กปฐมวัย  เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ แบบประเมินแผนการจัดประสบการณ์และคุณลักษณะครู แบบสังเกตพฤติกรรมครูและเด็ก แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า Z (Z test) และการวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบชื่อว่า “ACTAR Model” มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ขั้นที่ 2 ออกแบบการพัฒนาวิชาชีพ ขั้นที่ 3 ดำเนินการพัฒนาวิชาชีพ ขั้นที่ 4 ประเมินผล และขั้นที่ 5 รายงานผล 2) ประสิทธิผลของรูปแบบ พบว่า หลังการใช้รูปแบบครูมีความรู้เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบ ครูมีพัฒนาการในการออกแบบแผนและการจัดประสบการณ์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณลักษณะครูอยู่ในระดับดีมาก เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความพึงพอใจที่มีต่อการใช้รูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด และหลังการขยายผลการใช้รูปแบบฯ สามารถทำให้ครูมีสมรรถภาพในการจัดประสบการณ์ และทำให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์

Article Details

Section
บทความวิจัย