ทฤษฎีบารมี

Main Article Content

ชยพล เพชรพิมล
นพดล เจนอักษร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาองค์ประกอบของทฤษฎีบารมี 2.ศึกษาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบทฤษฎีบารมี 3.ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อทฤษฎีบารมี สมมติฐานการวิจัย              1.ทฤษฎีบารมีเป็นพหุองค์ประกอบ 2. ทฤษฎีบารมีมีความสัมพันธ์กันเป็นพหุองค์ประกอบ 3. ทฤษฎีบารมีเป็นพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน ซึ่งมีความเหมาะสม เป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้องครอบคลุม  ประชากรได้แก่โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศไทย จำนวน 2,420 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั้ง 42 เขตพื้นที่ ๆ ละ 8 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรงเรียนคือผู้บริหารโรงเรียนรวมทั้งสิ้น 336 คน การวิจัยประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาตัวแปรเกี่ยวกับองค์ประกอบของทฤษฎีบารมี ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบของทฤษฎีบารมี เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ1. แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง 2. แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ โดยใช้วิธีสกัดปัจจัย การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล วิเคราะห์ทฤษฎีบารมีตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของทฤษฎีบารมี ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบคือ 1. การบำเพ็ญสั่งสม(บารมี) 2. ความเที่ยงธรรมโปร่งใส 3. ความสามารถในการสื่อสาร 4. ความมีส่วนร่วม 5. ความเอื้ออาทร และ 6. ความอดทน2. ความสัมพันธ์ทฤษฎีบารมี เป็นความสัมพันธ์ด้านปัจจัยแวดล้อมซึ่งประกอบด้วย ความสามารถในการสื่อสาร ความมีส่วนร่วม ความเอื้ออาทร และความอดทน กับด้านทักษะการสร้างบารมีของผู้บริหารซึ่งประกอบด้วย           การบำเพ็ญสั่งสม (บารมี) และความเที่ยงธรรมโปร่งใส 3. ทฤษฎีบารมีความเหมาะสมเชิงทฤษฎีมีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้องครอบคลุม สอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

Article Details

Section
บทความวิจัย