การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหนังตะลุง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา คงขำ
  • นรินทร์ สังข์รักษา

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้ / หนังตะลุง / วัฒนธรรมท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การจัดการความรู้ คุณค่าและการอนุรักษ์ การพัฒนารูปแบบ การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาพื้นบ้านหนังตะลุงเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาร่วมกับการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมและการวิจัยแบบพหุเทศะกรณีศึกษา

ผลการวิจัยพบว่า คณะหนังตะลุงมีความต้องการจำเป็นในด้านการแสวงหาความรู้และ       สวงหาความรู้ ด้านการจัดเก็บความรู้เป็นขั้นตอนที่มีปัญหามากที่สุดและยังเป็นลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นสูงสุด  ส่วนคุณค่าของหนังตะลุงจำแนกออกเป็น 2 ด้านหลักคือด้านการพัฒนาบุคคลและ   ด้านการพัฒนาสังคม และแนวทางในการอนุรักษ์หนังตะลุงจำเป็นต้องเสริมสร้างและพัฒนาบุคคล    ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้เป็นนายหนังตะลุง ลูกคู่หรือนักดนตรี ผู้รับหนังตะลุง ผู้ดูหรือผู้ชม และผู้ส่งเสริมหนังตะลุง การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วยหลักการ วัตถุประสงค์ องค์ประกอบของการจัดการความรู้และองค์ประกอบร่วม โดยองค์ประกอบของการจัดการความรู้ “BONAMSUB Model”   มีองค์ประกอบย่อย 8 ประการคือ 1) ภาวะผู้นำ 2)โอกาสของการเรียนรู้ 3) สร้างเครือข่ายในการทำงาน 4) กิจกรรมต่อเนื่อง 5) การจัดการ 6) ค่านิยมร่วมกัน  7) การใช้เทคโนโลยี และ 8) อยู่ในความดูแลของภาครัฐ  ส่วนผลการประเมินรูปแบบการจัดการความรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

เผยแพร่แล้ว

2015-09-25