การบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

Main Article Content

ขนิษฐา วรฮาด
ดวงใจ ชนะสิทธิ์

Abstract

-การบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9/

Quality Management Curriculum Basic School of Secondary Educational Service Area Office 9

บทคัดย่อ

                      การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา    2) เปรียบเทียบการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ขนาดสถานศึกษา และรูปแบบโรงเรียนตามนโยบาย และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนของอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เนื้อหา

                      ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาอยู่ในระดับมากทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) การเปรียบเทียบการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาจำแนกตามเพศ  ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งหน้าที่ วิทยฐานะและรูปแบบโรงเรียนตามนโยบายที่ต่างกัน    มีระดับการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน มีเพียงอายุ และขนาดของสถานศึกษา  ที่ต่างกันในด้านการกำกับดูแลคุณภาพระดับสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการคุณภาพหลักสูตรสถานศึกษา คือ สถานศึกษาควรจัดอบรมให้ความรู้หรือมีผู้เชี่ยวชาญช่วยแนะนำวิธีการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหา มีการวิเคราะห์หลักสูตร จัดหาวิทยากรภายนอกที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและคณะกรรมการตรวจสอบ และครูควรร่วมกันกำกับ นิเทศ ติดตาม ประเมินการใช้หลักสูตรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

-

ABSTRACT

                      This research aimed to study: 1) The level of school’s curriculum management; 2) The comparison of school’s curriculum management divided by personal status, size of school and A school-based policies and 3) The guideline of school’s curriculum development. The sample is the director of school and teachers, Secodary Educational Service Area Office 9, 346 samples by using stratified sampling. The research design is questionaires and researcher interview used for data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test independent, one-way analysis of variance and content analysis.

                        The findings of this research were as follows: 1) The school’s curriculum management is on opinions of the director of school and teachers are high level both the overall and each side.  2) The comparison of school’s curriculum management is on opinions of the director of school and teachers divided by sex, educational level, working experience, ranking position and type of school on different policies have opinions both the overall and each side are not different but age and size of school are different, with statistical significance at .05 3) The Guideline of school’s curriculum management development that is, schools should held training courses or have specialists introduce the method of writing lesson plans are relevant with the content, curriculum analysis, outside educators with indigenous knowledges are suitable for the context of schools and the committee should execute, follow and evaluate on using curriculum all departments systematically and continuously cooperate with all teachers.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ขนิษฐา วรฮาด

โรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9